Quantcast
Channel: บล็อก อ้อยหวาน
Viewing all 244 articles
Browse latest View live

บันทึกเตือนใจ หลังชมสุสาน

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

 

สี่ห้าวันก่อนอ้อยหวานไปเจอข้อความจากวิกิพีเดียเวปสุดรักที่ได้อาศัยอ่านหาความรู้อยู่เสมอ   .. “วิกิรักอนุสรณ์สถาน : ถ่ายภาพอนุสรณ์สถานหรือโบราณสถาน ช่วยเหลือวิกิพีเดีย และชิงรางวัล!” (Wiki Loves Monuments: Photograph a monument, help Wikipedia and win!)มันไปกระตุ้นต่อมปั่นจักรยานเที่ยวและถ่ายภาพของอ้อยหวาน ทั้งๆที่ก็ปั่นจักรยานอยู่ทุกวัน แต่สี่ห้าวันที่ผ่านมาเป็นการปั่นจักรยานที่มีจุดหมายคือ ตระเวณถ่ายภาพอนุสรณ์สถานหรือโบราณสถานที่บ้านอยู่ของอ้อยหวานคือ ออตตาวา

ที่จริงอ้อยหวานมีรูปเก็บสต๊อกไว้เป็นร้อยๆ รูป และโลด์รูปเข้าประกวดไปหลายสิบรูป ทั้งของประเทศแคนนาดา ประเทศไทย และประเทศฝรั่งเศส น่าเสียดายที่ประเทศญี่ปุ่น และอังกฤษไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมด้วย ไม่อย่างนั้นอาจจะมีภาพถ่ายของอ้อยหวานถึงหลักร้อยส่งเข้าประกวด

อ้อยหวานไม่มีเวลามากเพราะกว่าจะรู้ข่าวเรื่องการแข่งขันก็เหลือเวลาไม่มากแค่ 3 วัน ทั้งๆ ที่เขาให้เวลาเดือนกันยายนทั้งเดือน (ไม่รู้พลาดได้ยังไง)  เมื่อเช็คดูรายชื่ออนุสรณ์สถานหรือโบราณสถานของเมืองออตตาวา มีมากมายเกือบร้อย เพราะเป็นเมืองหลวงของประเทศจึงมีสถานสำคัญๆ เยอะ แต่มีชื่อของสถานที่แห่งหนึ่งโดดเด่นขึ้นมาเตะตาอ้อยหวาน สุสานบีสวูด (Beechwood Cemetery) อ้อยหวานได้ยินชื่ออยู่บ่อยเพราะเป็นสุสานใหญ่และสำคัญของที่นี่ แต่เพิ่งจะรู้ว่าสุสานบีสวูดก็อยู่ในทะเบียนรายชื่ออนุสรณ์สถานหรือโบราณสถานของประเทศแคนนาดา สุสานอยู่ไม่ไกลจากบ้าน (10 กิโลเมตร) ว่าแล้วก็ต้องตามไปดูและไปถ่ายภาพ

 

วันที่แวะไปที่สุสานเป็นวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เลยมีคู่หูติดตามไปด้วย ช่วงนี้ใบไม้เริ่มเปลี่ยนสี แต่ยังไม่เต็มที่ อาทิตย์หน้าคงจะอลังการ

 

ผ่านประตูเข้าไปในสุสาน แล้วต้องร้องบอกคู่หูว่า โอ้สวยจัง ไม่นึกว่าสุสานจะสวยอย่างนี้

 

เป็นสุสานที่กว้างใหญ่ ร่มรื่นไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด

 

มีสวนดอกไม้ที่สวยมากและทุกอย่างได้รับการดูแลเป็นอย่างดี

 

และเป็นสุสานที่มีหลายแบบ เพราะแคนนาดาเป็นประเทศที่มีผู้คนหลายเผ่าพันธ์ หลากหลายวัฒนธรรม หลอมรวมกันเป็นประเทศที่ผู้คนให้เกียรติแก่กันและกัน อยู่ด้วยกันอย่างสันติ และแม้แต่หลังจากความตาย ก็ยังอยู่ด้วยกันได้

 

มีหลุมฝังศพของบุคคลสำคัญๆ ของประเทศ ไปจนถึงประชาชน ธรรมดาๆ

บันทึกข้อคิด…ก็ความตายไม่ได้เลือกที่รักที่ชัง ผู้ยิ่งใหญ่หรือคนเดินดิน

 

มีทั้งหลุมฝังศพเก่าแก่ ไปจนถึงหลุมใหม่ที่เพิ่งฝังวันนี้เอง

บันทึกข้อคิด..ความตายมีอยู่คู่โลกไม่ว่าจะเป็นร้อยๆ พันๆ ปีในอดีต จนกระทั่งวินาทีนี้ และจะอยู่คู่โลกไปเป็นร้อยๆ พันๆ ปีในอนาคต

 

สุสานบีสวูด มีบรรยากาศร่มรื่น และเปิดเป็นที่สาธารณะ มีผู้คนมากมายพาเด็กๆ มาเดินเล่นวิ่งเล่น วิ่งออกกำลังกาย ปั่นจักรยาน แม้แต่รำไทชิ จึงมีบรรยากาศสวนสาธารณะไปด้วยในตัว แต่เป็นเพราะอ้อยหวานตั้งใจจะเก็บภาพสุสานเพื่อจะส่งประกวด ก็เลยไม่ได้เก็บรูปเด็กๆ วิ่งเล่น และคนรำไทชิมาเลย

 

มาถึงโซนจีน แท่นหินหลุมฝังศพจะเป็นแบบฝรั่งผสมจีน มีภาษาสองภาษากำกับอยู่ จู่ๆ ก็ได้กลิ่นธูปทำให้ขนลุกเกรียวในทันทีทันใด ความที่ไม่ได้กลิ่นธูปมานาน

 

แต่พอเลี้ยวโค้งมาเจอศาลาจีนและกระถางธูปเหล็กอันใหญ่ ก็ต้องร้องอ้อนี่เอง

บันทึกข้อคิด..มนุษย์ชอบหลอนตัวเอง คิดไปเองเป็นตุเป็นตะ แล้วยอมให้ความกลัวมันหลอก

 

สุสานบีสวูดเป็นสุสานแห่งชาติ เป็นที่พำนักสุดท้ายของชาวแคนาดากว่า 75,000 ร่าง ตั้งแต่นักการเมืองสำคัญๆ นายกรัฐมนตรี ทหารผ่านศึกของกองทัพแคนาดา ทหารหาญที่เสียชีวิตในหน้าที่ และตำรวจ RCMP แห่งแคนาดา

 

ประเทศแคนนาดาไม่เคยมีศึกสงคราม แต่เมื่ออยู่ในโลกนี้ (โลกที่ถูกสาป ให้ผู้คนเข่นฆ่ากันเอง ไม่รู้จักหยุดหย่อน) และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรแห่งโลก “องค์การสหประชาชาติ” ก็ต้องเข้าข่ายประเทศที่มีการสูญเสียอย่างมากมาย

 

ตรงนี้เป็นโซนของชาวโปรตุเกส มีแท่นหินหลุมฝังศพที่สวยมาก อ้อยหวานประทับใจกับหลุมขวามือ แกะรูปได้สวยงามเหมือนจริง สามีเสียชีวิตไปแล้ว แต่ภรรยายังมีชีวิตอยู่ มีชื่อภรรยาสลักอยู่ด้วยพร้อมวันเกิด ส่วนวันตายทิ้งว่างไว้ คงจะเป็นหลุมคู่

..เธอรอฉันตรงนี้นะจ้ะ เมื่อถึงเวลาเราจะคืนกลับมาอยู่ด้วยกันอีกครั้ง

 

ปั่นจักรยานชมสุสานบีสวูดในต้นฤดูใบไม้ร่วงให้ข้อคิดสอนใจมากมาย โลกนี้และชีวิตนี้สวยสดงดงามเสมอ

 

บันทึกข้อคิด..เมื่อมีชีวิตอยู่ก็ใช้ชีวิตให้สวยงดงาม รักตัวเองและผู้อื่นให้มากๆ มั่นทำความดี และสุดท้ายมั่นสอนใจตนว่าที่สุดของทุกชีวิตคือนี่เอง

 

ขอให้เพื่อนๆ มีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 

 

 


ปั่นจักรยานชมใบไม้เปลี่ยนสี

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

ช่วงนี้เมืองออตตาวาเต็มไปด้วยสีสันสดใส ฤดูร้อนได้ลาจากไปเปิดทางให้ฤดูใบไม้ร่วง และอีกไม่นานต้นไม้และผู้คนที่นี่รวมทั้งอ้อยหวาน ก็ต้องบอกลาใบไม้ทุกใบ แต่ไม่ใช่เป็นการลาขาด เพราะเราได้เซ็นสัญญาธรรมชาติกันไว้ ปีหน้า.. ที่เก่า.. เวลาเดิม เราจะกลับมาพบกันอีก

 

สีส้มหรือแดงสดใสของใบไม้นั้นเกิดจากการหายตัวไปของสารคลอโรฟิลสีเขียว ในฤดูใบไม้ร่วงช่วงเวลากลางวันสั้นลงๆ อุณหภูมิได้ลดลงด้วย ต้มไม้ต่างๆ ได้รับสัญญานเตือนจากธรรมชาติว่า ถึงเวลาแล้วหนอ.. ถึงเวลาเตรียมตัวสำหรับฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง

 

ต้มไม้ต่างๆ ก็เริ่มพากันปิดโรงงานผลิตอาหาร  ทำให้คลอโรฟิลที่มีสีเขียวจางหายไปจากใบไม้

 

ต้นไม้บางชนิดเช่น ต้นเมเปิ้ลที่ยังมีน้ำตาลกลูโคสหลงเหลืออยู่ในใบเมื่อหยุดการผลิตอาหารหรือการสังเคราะห์แสง แสงแดดและอากาศเย็นในเวลากลางคืน จะทำให้น้ำตาลกลูโคสในใบเปลี่ยนสีเป็นสีแดงสด

 

ส่วนต้นไม้อื่นๆ ที่มีใบไม้เปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล เหลือง หรือสีม่วง เป็นสีของของเสียที่ หลงเหลืออยู่ในใบ

 

หลังจากได้แสดงโชว์ความงามที่อลังการและสดสวยแล้ว ธรรมชาติยังได้สร้างสรรให้ต้นไม้ปิดฉากได้อย่างอลังการเช่นกันในตอนจบที่ขั่วของใบไม้แต่ละใบจะมีการฟอมร์ตัวของสารชนิดหนึ่ง ซึ่งจะปิดท่อส่งน้ำและอาหารจากลำต้น ทำให้ใบร่วงหล่นพรูหมดต้นในเวลาต่อมา

 

ทั้งหมดนี้สอนให้อ้อยหวานรู้ว่า หากเรายอมรับธรรมชาติ ไม่ฝืนธรรมชาติ ชีวิตนี้ก็จะมีความสุข แม้รู้ว่าอากาศที่หนาวเหน็บของฤดูหนาวกำลังจะมาถึง และต้องบอกลาจักรยานเพื่อนรัก แต่อ้อยหวานก็จะได้พบกับเพื่อนรักอีกสองอย่างคือ หิมะและสกี

 

ถนนสายสำคัญของเมืองออตตาวา ตกแต่งด้วยธงชาติและสีสันของใบไม้สวยงามไปตลอดสาย

 

ปั่นจักรยานชมใบไม้เปลี่ยนสี เป็นช่วงหนึ่งที่ดีมากในการปั่นจักรยานเที่ยว เพราะช่วงนี้อากาศเย็นสบาย ไม่หนาวไม่ร้อน

 

ต้นเมเปิ้ลต้นนี้โชว์สีสันได้อลังการจริงๆ ปีนี้ถือว่าเป็นปีที่ใบไม้เปลี่ยนสีได้ไม่สวยเท่าที่ควร เพราะสภาพอากาศไม่เป็นใจ หนาวไม่พอ อีกทั้งเป็นฤดูใบไม้ร่วงที่มีฝนตกชุก มีเมฆมากและมีแสงแดดน้อย ทำให้แต่ละใบและแต่ละต้นไม่พร้อมใจกันแดง

 

อ้อยหวานยังปั่นจักรยานตามถ่ายรูปอนุสรณ์สถานของเมืองออตตาวาอยู่ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้การปั่นจักรยานแถวบ้านสนุกขึ้น อาคารหลังนี้เป็นหนึ่งในทะเบียนรายชื่ออนุสรณ์สถานของเมืองเป็นศาลาเก่าแก่สำหรับชมวิวแม่น้ำ

 

และนี่คือวิวที่มองจากศาลา

 

อนุสรณ์สถานอีกแห่งก็เติมแต่งด้วยสีสันสดใสของฤดูใบไม้ร่วง งดงามไม่แพ้กัน เป็นที่พำนักของผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษ

 

โบสถเก่าแก่ของเมือง ก็อยู่ในทะเบียนรายชื่ออนุสรณ์สถานของเมืองออตตาวา

 

ใบเมเปิ้ลเป็นใบไม้สัญลักษณ์ของประเทศแคนนาดา ต้นเมเปิ้ลเป็นต้นไม้ที่ให้ประโยชน์มากมาย ให้ทั้งน้ำหวาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ให้ทั้งเนื้อไม้ แถมใบเมเปิ้ลก็กินได้ด้วย ที่แคนนาดาไม่มีใครกินกัน

 

แต่ที่ญี่ปุ่นมีเมนูใบเมเปิ้ลชุบแป้งทอด

 

อ้อยหวานไม่รู้ว่ารสชาติจะเป็นเช่นไร หากมีโอกาสอย่าลืมลองชิม จะมีขายเฉพาะช่วงฤดูใบไม้ร่วงเท่านั้น

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 

 

อีกครั้งกับใบไม้เปลี่ยนสี

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

วันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ เป็นวันหยุดยาว วันขอบคุณพระเจ้าของประเทศแคนาดา ลูกๆ เขานัดกันไปเที่ยวเมืองนิวยอร์ก อ้อยหวานกับคุณผู้ชายที่บ้านเลือกที่จะปั่นจักรยานเที่ยวชมใบไม้เปลี่ยนสีแถวบ้าน เพราะออตตาวาเป็นเมืองที่มีสีสันของฤดูใบไม้ร่วงที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของแคนนาดา

 

วันแรกถึงแม้ว่าท้องฟ้าจะมืดครึ้ม แต่ไม่มีฝนและอากาศก็ไม่หนาวมาก เราปั่นไปไกลหน่อย จากบ้านไปที่อุทยานแห่งชาติ ไปกลับประมาณ 40 กว่ากิโลเมตร ผ่านเขตในเมือง ที่ริมฝั่งแม่น้ำตรงกันข้ามกับรัฐสภา อย่างที่อ้อยหวานกล่าวไว้ในตอนที่แล้วว่าปีนี้เป็นปีที่ใบไม้เปลี่ยนสีได้ไม่สวยเท่าที่ควร แต่ละใบและแต่ละต้นไม่พร้อมใจกันเปลี่ยนสี เพราะสภาพอากาศไม่หนาวพอและมีแสงแดดน้อย

 

อนุสรณ์สถานที่สำคัญที่สุดของของประเทศในวันฟ้าห่มเมฆ

 

ช่วงนี้ห่านแคนนาดาเริ่มจับกลุ่มกันบินลงใต้

 

ใบไม้ที่อุทยานแห่งชาติสีสันไม่สดเท่าที่ควรจะเป็น

 

แต่ก็ยังงดงาม

 

เป็นเส้นทางจักรยานที่สวยมาก

 

ขึ้นๆ ลงๆ ผ่านป่าเขา ปั่นจักรยานไปอย่างช้าๆ ได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศ ห่างไกลจากกลิ่นและเสียงของเครื่องยนต์ สูดดมอากาศบริสุทธิ์ โอ้..สวรรค์ดีๆนี่เอง

 

เช้าวันอาทิตย์อากาศสดใส เมฆที่ห่มฟ้าเมื่อวานนี้ลอยผ่านไปเกือบหมด แสงแดดเจิดจ้าจริงๆ

 

ทำให้ภาพของวันนี้มีบรรยกาศต่างกับภาพของเมื่อวานนี้อย่างสิ้นเชิง

 

ฟ้าใสๆ กับใบไม้สีสดๆ

 

เราตัดสินใจแวะไปที่สุสานบีสวูด (Beechwood Cemetery)อีกครั้ง และกลายเป็นว่า ใบไม้เปลี่ยนสีที่สุสาน เป็นใบไม้ที่สวยที่สุด

 

บางคนบอกว่า..

ฤดูใบไม้ร่วงดูเศร้า เหงา และวังเวง

 

บางคนบอกว่า..

ฤดูใบไม้ร่วงคือฤดูใบไม้ผลิอีกครั้ง เมื่อใบไม้ทุกใบเป็นเหมือนดอกไม้

~Albert Camus

 

แต่บางคนบอกว่า...

ดูเถิด..ดูไปที่นั่น ไปยังใบไม้ของฤดูใบไม้ร่วง ท่ามกลางฟ้าสีเทาหม่น

แต่ไม่มีคำว่าเศร้าโศก เพราะโลกรู้ว่า

การตายของเธอคือการเกิดใหม่ในฤดูใบไม้ผลิ

~George Meredith

 

ฤดูกาลที่เมืองไทย ภาพ บรรยากาศ และสีสันจะดูไม่แตกต่างกันมาก แต่ฤดูกาลของที่นี่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงและดูต่างกันอย่างสิ้นเชิง ถ้าถามอ้อยหวานว่าชอบฤดูไหนมากที่สุด ก็คงจะได้คำตอบว่า ฤดูใบไม้ผลิ เพราะรักดอกไม้

แต่ไม่ว่าจะเป็นฤดูกาลใด ธรรมชาติก็สร้างสรรได้สวยสดงดงามเสมอ

 

ขอให้เพื่อนๆ มีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 

เล่าสู่กันฟัง “มินะมะตะ..อย่าให้เกิดขึ้นอีกเลยในโลกใบนี้”

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

อ้อยหวานติดตามอ่านบล็อกของคนอื่นอยู่มากมายหลายบล็อก ตั้งแต่บล็อกของนักปั่นจักรยานเที่ยว (ซึ่งได้ติดตามอ่านอยู่หลายสิบบล็อก) ไปจนถึงนักอนุรักษ์ซึ่งเมื่อวานนี้อ้อยหวานได้อ่านบล็อกที่เขาพาลูกเมียไปเที่ยวญี่ปุ่น อ่านไปจนถึงตอนที่เขาและครอบครัวไปที่เมืองมินะมะตะ (Minamata) แล้วก็ต้องสดุดกึกเมื่ออ่านจบ ทำให้ขวนขวายหาอ่านต่อหลังจากนั้น ทั้งอ่านเวป ทั้งดูวิดิโอ youtube แล้วคิดว่าเรื่องนี้ต้องบอกต่อ เพื่อจะได้เป็นอุทาหรณ์

 

เมืองมินะมะตะ (Minamata) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะคิวชู (Kyushu) เกาะที่อยู่ใต้สุดของประเทศญี่ปุ่น

 

เมืองมินะมะตะในวันนี้เป็นเมืองที่สุขสงบและมีทัศนียภาพที่สวยงดงาม แต่เมื่อห้าสิบกว่าปีก่อน เมืองมินะมะตะได้ประสบกับโศกนาฏกรรมที่เลวร้ายที่สุด ไม่ใช่โศกนาฏกรรมทางธรรมชาติ แต่เป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์

 

ในปี 1956 ได้มีผู้ป่วยด้วยโรคที่หาสาเหตุไม่ได้ โดยมีอาการดังนี้

อาการ Ataxia

-สูญเสียความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวทางกายภาพ

-สูญเสียการประสานกันของท่าเดิน

-มีอาการพูดไม่เป็นความ

-และอาการตากระตุก อาการสั่น ภาวะหดเกร็งของกล้ามเนื้อ กระดูกสันหลังโกงคด นิ้วเท้างุ้ม ส่วนโค้งเท้าสูงขึ้น

-ตากระตุก มือและเท้าชา กล้ามเนื้ออ่อนแอ

-สูญเสียประสาทหู ตา และปาก

ในกรณีที่รุนแรงจะมีอาการวิกลจริต เป็นอัมพาต โคม่า และเสียชีวิตในเวลาต่อมา จากผู้ป่วยคนแรกต่อมาก็มีเพิ่มขึ้นๆ เรื่อยๆ

  

ก่อนหน้านั้นได้มีการตายของปลาและสัตว์ต่างๆ ที่เด่นที่สุดคือแมว จนตอนนั้นเรียกกันว่า ‘โรคแมวเต้นรำ’ (cat dancing disease)

 ขอบคุณ youtube และ คุณ Resistance is Victory

 

ผู้คนที่นี่พากันเจ็บป่วยและล้มตายด้วยโรคใหม่ ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่าโรคมินะมะตะ (Minamata disease)เป็นโรคที่เกิดจากพิษของสารปรอทที่มีอยู่ในอาหาร ในกรณีนี้คือปลาและอาหารทะเลจากอ่าวมินะมะตะ และทะเลชิระนุอิ  (Shiranui)

 

โรคนี้ยังส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ เด็กทารกที่กำเนิดในเวลาต่อมามีภาวะพิการอย่างรุนแรง

 

แม้ภายหลังที่สามารถค้นพบสาเหตุแล้วว่าเป็นโรคที่เกิดจากมลพิษจากสารปรอทจากโรงงานผลิตปุ๋ยและอุตสาหกรรมเคมี   Chisso Corporation โรงงาน Chisso Corporation เป็นโรงงานใหญ่ และเป็นรายได้สำคัญของคนในท้องถิ่นและของประเทศ ทำให้โรงงานสามารถดำเนินการต่อไปอีกหลายๆๆ ปี และเกิดการสูญเสียอย่างมากมาย และเป็นวงกว้างขึ้น

ทั้งๆ ที่ทางโรงงาน Chisso Corporation รู้ว่าตัวเองได้ปล่อยสารปรอทลงในแม่น้ำ  อีกทั้งยังได้ทำการศึกษาทดลองกับแมวในห้องวิจัย ก่อนที่จะมีผู้ป่วยเกิดขึ้น แทนการกระทำที่ถูกต้องคือหยุดการปล่อยสารปรอททางโรงงานกลับปกปิดและเริ่มเปลี่ยนจุดปล่อยสารพิษลงในแม่น้ำสายอื่นแทน  สารปรอทถูกกระแสน้ำพัดออกไป ส่งผลกระทบต่อพื้นที่กว้างกว่าเดิม

 

นอกจากนั้นยังเป็นผลให้เกิดการแตกแยกในสังคม เกิดการประท้วงและปะทะกันระหว่างชาวบ้านผู้สูญเสีย และชาวบ้านผู้ที่กลัวว่าตัวเองจะตกงานสูญเสียรายได้มาเลี้ยงครอบครัว

 

ในปี 1971 ช่างภาพชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง นาย William Eugene Smithได้เดินทางไปทำข่าวที่เมืองมินะมะตะ รูปถ่าย “Tomoko Uemura in Her Bath”ของเขา รวมทั้งรูปถ่ายและเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่เมืองมินะมะตะ ได้ลงพิมพ์ในนิตยสาร Life ทำให้เป็นข่าวใหญ่และเกิดความสนใจไปทั่วโลก ทำให้โรงงาน Chisso Corporation ตกอยู่ในฐานะลำบาก ต่อมาในปี 1972 นาย William Eugene Smith ได้ถูกคนงานของโรงงาน Chisso Corporation ทำร้ายบาดเจ็บสาหัส

โทะโมะโกะเสียชีวิตในปี 1977 เมื่ออายุ 21 ปี

 นาย William Eugene Smith เสียชีวิตในปี 1978 เมื่ออายุ 60 ปี

 

มนุษย์โลกจะได้บทเรียนจากเหตุการที่น่าเศร้านี้หรือไม่???

จะต้องสูญเสียกันอีกมากมายแค่ไหน????

และเราในฐานะประชากรของโลก หรือมนุษย์โลก เราได้ทำอะไรบ้างเพื่อยุติหรือป้องกันไม่ใช้เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นอีก …

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ

https://communingwithartifice.wordpress.com/2010/08/13/minamata/

http://en.wikipedia.org/wiki/Minamata,_Kumamoto

http://en.wikipedia.org/wiki/Minamata_disease

https://www1.umn.edu/ships/ethics/minamata.htm

http://melaicenteno.blogspot.ca/2012/06/cats-dance.html

http://www.corrosion-doctors.org/Elements-Toxic/Minamata-1.htm

http://www1.american.edu/ted/MINAMATA.HTM

http://www.soshisha.org/english/10tishiki_e/10chisiki_3_e.pdf

http://www.env.go.jp/chemi/tmms/pr-m/mat01/en_full.pdf

http://hereandnow.wbur.org/2013/10/09/mercury-treaty-minamata

 

 

 

I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 

อนุสรณ์สถานมินะมะตะ

 

เล่าสู่กันฟัง “ฝันร้ายที่ พริเพียต.. ยูเครน”

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

 

เมื่อเขียนบล็อก “มินะมะตะ”แล้ว จะไม่เขียนถึงโศกนาฏกรรมที่เลวร้ายที่สุดอีกเรื่องหนึ่งของโลก  ก็คงไม่ใช่อ้อยหวาน ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในโลก ที่ร้ายแรงที่สุด คงจะไม่มีเรื่องใดเทียบเท่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนเวิล (หมายเหตุคำว่า “Chernobyl” ภาษารัสเซียอ่านว่า “เชอร์โนเวิล” ไม่ใช่ เชอร์โนบิล) และเกิดจากฝีมือของมนุษย์! ถึงแม้เรื่องนี้จะเป็นอุบัติเหตุ แต่มนุษย์เป็นตัวต้นเหตุ

 

อ้อยหวานขอพาเพื่อนๆ ไปที่ เมือง‘พริเพียต’  (Pripyat) เมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศยูเครน

 

ในปี 1970 ยูเครนอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต ในตอนนั้นรัฐบาลมีคติว่า ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ มีความปลอดภัยกว่าจากพลังงานอื่นๆ จึงได้มีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนเวิล ขึ้น และได้สร้างเมืองใหม่ใกล้ๆ กัน มีชื่อว่าเมืองพริเพียต  มีการวางแผนผังและสร้างเมืองอย่างพิถีพิถัน มีศาลากลางเมือง โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ช้อปปิ้งมอลหรูหราขนาดใหญ่ สวนสาธารณะ พร้อมทั้งสวนสนุก

แต่..น่าเศร้าใจที่ 16 ปีต่อมา ก็เกิดเหตุร้ายขึ้น

 

ในเดือนเมษายน  ของปี 1986 ผู้คนในเมืองพริเพียตต้องพบกับฝันร้ายที่สุดในชีวิต เมื่อเตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนเวิลได้ระเบิดขึ้น

 

 การระเบิดครั้งนี้ทำให้มีปริมาณของสารกัมมันตรังสีและสารพิษออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ สูงกว่าระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา ญี่ปุ่น  ถึง 500 เท่า

ขอบคุณ youtube และ คุณ Tonemapped

 

สารกัมมันตรังสี Iodine 131 ได้กระจายไปทั่วยุโรป เมื่อมนุษย์ได้รับสารนี้เข้าไปในร่างกาย จะทำลายต่อมไทรอยด์ และกัดกินส่วนอื่นๆ ในร่างกาย ในเวลาต่อมา

สาร Caesium 131 เป็นสารที่กำจัดได้ยากมาก จะปนเปื้อนอยู่บนทุกอย่างที่มันสัมผัส อยู่นานถึง 30 กว่าปี

 

สาร Strontium 90 หนึ่งในสารกัมมันตรังสีที่มีอันตรายมากๆ สารนี้จะโจมตีกระดูกไขสันหลัง เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งในกระดูก มะเร็งของเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่ใกล้กระดูก และมะเร็งเม็ดเลือดขาว

วงจรชีวิตของสาร Strontium 90 ยาวนานถึง 90 ปี!!! Surprised

 

ก๊าซพิษ Xenon 133 เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งในปอด แม้แต่ฝนก็ไม่สามารถชำระล้างมันได้ แต่จะเปลี่ยนสภาพจากก๊าซมาเป็นสารกัมมันตรังสีที่แข็งตัว และจะอยู่คู่โลกอีกหลายร้อย หลายพัน หรือหลายหมื่นปี

 

สุดท้ายคือ สาร plutonium 239 เป็นสารที่มีอันตรายที่สุด และเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งหลายๆ ชนิด สาร plutonium 239 กำจัดได้ยากมาก

ข่าวร้ายคือ ..จะอยู่คู่โลกไปถึง 24,000 ปี Surprised

 

 “ร่างของพวกเขามีสีแปลกๆ แม้แต่ภายใต้เสื้อผ้าที่ฉีกขาดรุ่งริ่งก็มีรอยใหญ่ปรากฏขึ้น สีแทนของนิวเคลียร์ เป็นการตายที่น่ากลัวที่สุด” จาก เชอร์โนเวิล คืนวันสิ้นโลก (Chernobyl: The night of the end of the world)

เหตุการณ์ฝันร้ายนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตโดยตรง 31 คน ผู้ที่รอดชีวิตจากการระเบิดจะเสียชีวิตด้วยความทุกข์ทรมานในชั่วโมงต่อมา บางคนมาถึงโรงพยาบาลด้วยร่างที่เกือบละลาย

 

รัฐบาลยูเครนรายงานว่าเหยื่อเชอร์โนเวิล 642,000 คน จากทั้งหมด 3 ล้านคน คือเด็ก

 

เหยื่อเชอร์โนเวิล

 

เหยื่อเชอร์โนเวิล

 

เหยื่อเชอร์โนเวิล

 

ในปัจจุบันนี้เมืองพริเพียตเป็นเมืองร้าง ไร้ผู้คน และจะเป็นเมืองร้างไปอีกนานแสนนาน

 

ภาพเมืองพริเพียต อดีตและปัจจุบัน

 

มนุษย์โลกจะได้บทเรียนไหมหนอ?

เรามักจะสร้างก่อน เกิดปัญหาแล้วค่อยแก้เอาทีหลัง

แม้ในขณะนี้ วันนี้ วินาทีนี้

เราก็ยังไม่สนใจกับบทเรียนราคาแพง บทเรียนที่ต้องสูญเสียทั้งชีวิตของผู้คนและสิ่งแวดล้อม

จะต้องได้บทเรียนเช่นนี้อีกกี่ครั้งกี่หน??

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ

http://www.postiar.com/post/15934/chernobyl-25-years-later.html

http://en.wikipedia.org/wiki/Chernobyl_disaster

http://en.wikipedia.org/wiki/Chernobyl_Nuclear_Power_Plant

http://en.wikipedia.org/wiki/Pripyat

http://www.bcd-urbex.com/chernobyl-nuclear-power-plant-ukraine/

http://shahray-shahray.blogspot.ca/2011/04/ghost-city-of-chernobyl.html

http://timster1973.wordpress.com/2012/10/13/the-firefighters-of-chernobyl/

http://www.theatlantic.com/infocus/2011/03/the-chernobyl-disaster-25-years-ago/100033/

https://maryloudriedger2.wordpress.com/tag/chernobyl-at-the-united-nations/

http://totallycoolpix.com/2011/04/chernobyl-25-years-later-then-and-now/

http://becuo.com/chernobyl-radiation-victims

 

 

I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 

บอกข่าว...

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

 

วันนี้แวะมาบอกข่าวค่ะ สำหรับผู้ที่สนใจอยากลองเขียนบทความ

 แคมเปญเที่ยวทั่วไทยไปญี่ปุ่น!”

ลุ้นบินไปญี่ปุ่นฟรี! กับ การบินไทย และ เจแปนทราเวล

เพียงร่วมสนุกกับกิจกรรม “เที่ยวทั่วไทย ไปญี่ปุ่น!” โดยส่งบทความส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ในหัวข้อ “สถานที่สุดโรแมนติกในประเทศไทย” (ความยาวขั้นต่ำ 400 คำ) โดยลงทะเบียนที่ http://th.thailandtourist.com/join ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม – 10 ธันวาคม 2557 เพื่อลุ้นรับบัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพฯ- ญี่ปุ่น จำนวน 4 รางวัล

ประกาศผลวันที่ 15 ธันวาคม 2557 ทางเว็บไซต์ www.thailandtourist.comและผู้ได้รับรางวัลจะต้องออกบัตรโดยสารเครื่องบินกับการบินไทยภายในวันที่ 25 ธันวาคม 2557 และเดินทางไปญี่ปุ่นภายในวันที่ 15 มีนาคม 2558 ค่ะ

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก http://th.thailandtourist.com/rules หรือสอบถามที่ campaign@japantravel.com

JapanTravel Thai Team

ดอกไม้ในวันวาน..เดย์ลิลลี่

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

 

ดอกไม้ในในบล็อกวันนี้ เป็นดอกไม้ที่บานในวันวาน (เดือนกรกฎาคม) ในสวนใหญ่ของเมืองออตตาวา (Ottawa) บ้านอยู่ของอ้อยหวาน มัวแต่เขียนโน่นเขียนนี่ ดอกเดย์ลิลลี่เลยต้องรอแล้วรออีก กว่าจะได้โชว์ตัวที่สุดสวย ก็เลยมาตั้งเกือบสามเดือน

 

ที่สวนใหญ่ของเมืองออตตาวามีดอกไม้ให้ชมพลัดเปลี่ยนไปตามฤดูกาล หลังจากดอกโบตั๋นและ ดอกไอริส เดือนกรกฎาคมก็เป็นทีของเธอ ดอกเดย์ลิลลี่ (Daylily) เธองดงามไม่น้อยหน้าใคร

 

มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า  Hemerocallis  ในภาษากรีกแปลว่า ‘สวยหนึ่งวัน’  เพราะดอกบานเพียง 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะเหี่ยวและร่วงจากขั่ว

แต่เดย์ลิลลี่จะมีดอกใหม่มาผลัดกันบานนานถึงสามอาทิตย์

 

คำคมของอ้อยหวาน

… จงใช้ชีวิตให้สดสวยเหมือนดอกเดย์ลิลลี่ เพราะชีวิตนี้ นั้นสั้นนัก..

 

เดย์ลิลลี่มีถิ่นกำเนิดที่ ยูเรเซีย (Eurasia) รวมทั้งจีน เกาหลี และญี่ปุ่น

 

ดอกเดย์ลิลลี่มีอยู่มีมากกว่า 60,000 สายพันธุ์ มีหลายสี และหลายรูปแบบ เพราะเป็นไม้ดอกที่นิยมกันมากในหมู่นักผสมพันธ์พืช

เดย์ลิลลี่พันธุ์ดั้งเดิมมีเพียงสีเหลือง สีชมพู สีเหลืองอมน้ำตาล และสีชมพูอมน้ำตาล ในปัจจุบันมีเดย์ลิลลี่เกือบทุกสี ยกเว้นสีฟ้าและสีขาวบริสุทธิ์

 

แดงเข้ม

 

สีชมพูหวาน

 

สีชมพูเข้ม

 

สีม่วงก็มีหลายเฉด  ..สีม่วงอ่อน

 

สีม่วงเข้ม

 

สีม่วงแก่

 

ส่วนสีเหลืองก็มีหลายเฉดเช่นกัน มีตั้งแต่ขาวแกมเหลือง

 

เหลืองอ่อน

 

สีเหลืองลายขาว

 

สีเหลืองเข้มจนเกือบเป็นสีส้ม

 

บางพันธ์จะมี 2-3 สีในดอกเดียวกัน

 

มนุษย์ช่างเสริมเติมแต่งให้ธรรมชาติ

 

ดูเหมือนกับถูกระบายสี

 

สวนเดย์ลิลลี่อยู่หน้าสวนกุหลาบ

 

อ้อยหวานปั่นจักรยานมาที่สวนนี้บ่อยมาก จนดอกไม้ทุกดอกจำหน้าได้ มาจมแช่อยู่ตรงนี้อยู่นานโข

เขาดูแลรักษาได้งามจริงๆ สำหรับคนรักดอกไม้อย่างอ้อยหวาน ที่นี่คือสวรรค์

 

ดูดอกนี้สิ ยิ้มแฉ่งเลย สุขใจจริงๆ

 

ดอกเดย์ลิลลี่พันธุ์ดั้งเดิมที่มีสีเหลืองส้ม เป็นพันธ์เดียวที่กินได้ ภาษาจีนเรียกว่า ‘กัม จัม ฝ่า’ (gum jum fa) หรือ ดอกเข็มทอง

คนจีนจะทานดอกเดย์ลิลลี่พันธุ์นี้  ดอกสดใช้ผัดน้ำมันหอย ส่วนดอกตากแห้งใช้ทำต้มจืดกระดูกหมู

 

ที่ภาคตะวันออกของไต้หวัน มณฑล ฮัวเหลียน (Hualien) มีฟาร์มเดย์ลิลลี่ ซึ่งปลูกกันเต็มหุบเขา

 

และเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมด้วย สวยมากมาย ดูลายละเอียดได้ ที่นี่ ค่ะ

ขอบคุณ คุณ Hanjié Wu สำหรับรูปภาพสวยๆ

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ

http://en.wikipedia.org/wiki/Daylily

https://www.localgardener.net/pages.php?lang=en&page=articles&action=view&vid=59

http://www.extension.umn.edu/garden/yard-garden/flowers/growing-daylilies/

http://www.sunrise-inn.com.tw/news2_view.aspx?id=120

http://www.greenishthumb.net/2010/02/growing-buying-cooking-daylily.html

http://hanjies.blogspot.ca/2013/09/daylily-trip.html

 

 

I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 

 

 

เล่าสู่กันฟัง.. ดอกเดย์ลิลลี่ก็คือดอกไม้จีน

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

 

บล็อกที่แล้วอ้อยหวานเอาดอกเดย์ลิลลี่ (Daylily)ที่สวนใหญ่ของเมืองออตตาวามาโชว์ตัวสุดสวย ที่บ้านของอ้อยหวานที่เมืองไทยเรียกดอกเดย์ลิลลี่ตากแห้ง (ภาษาจีนเรียกว่า ‘กัม จัม ฝ่า’ (gum jum fa หรือ ดอกเข็มทอง) ว่า “ดอกไม้จีน” แต่เห็นบางคนเรียก “ดอกชมจันทร์” ว่าดอกไม้จีน ก็เลยงง!! และไม่แน่ใจ

พอมาอ่านเม้นท์ของคุณอินเนียร์และคุณบุญชูก็เลยค่อนข้างแน่ใจ ว่าดอกเดย์ลิลลี่ ดอกกัม จัม ฝ่า (gum jum fa) หรือดอกเข็มทอง (Golden Needles) ก็คือ “ดอกไม้จีน” นั่นเอง

 

ดอกไม้จีน ดอกเดย์ลิลลี่ ดอกกัม จัม ฝ่า หรือดอกเข็มทองที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า hemerocallis fulvaนั้น เป็นเดย์ลิลลี่พันธุ์ดั้งเดิม พันธุ์พื้นๆ หรือพันธุ์บ้านๆ ที่ฝรั่งเรียกกันว่า wild Daylily และบางครั้งก็ถือกันว่าเป็นวัชพืชเสียด้วยซ้ำ เพราะเธอสวยน้อยกว่าเดย์ลิลลี่พันธุ์โฉมงามอื่นๆ อีกทั้งเธอโตไว และเลี้ยงง่าย เบียดเบียนต้นไม้อื่นๆ ในสวนชนิดที่ว่า.. สวนนี้ต้องมีเธอแต่ผู้เดียว เธอหายอมไม่ ถ้ามีดอกไหนมาสวยเกิน.. เดย์ลิลลี่ป่าพันธุ์นี้เธอขยายพันธุ์โดยการแทงรากไปเรื่อยๆ ที่บ้านอ้อยหวานเมื่อสองปีก่อนเธอยึดครองพื้นที่ไปทั่ว แถมหมุดใต้รั้วแล้วลามไปสวนของเพื่อนบ้าน คุณผู้ชายต้องขุดทิ้งมา 3-4 ปี ถึงจะกำจัดเธอได้หมด

 

ในบล็อกของฝรั่งบอกไว้ว่าดอกเดย์ลิลลี่ (hemerocallis fulva) ทานได้ตั้งแต่ดอกตูม ดอกบาน ลำต้น ไปจนถึงหัว แต่บางคนอาจจะเกิดอาการแพ้ เมื่อทานลำต้นและหัว จะทำให้ท้องเสียท้องเสีย

โปรดระวังดอกเดย์ลิลลี่พันธุ์อื่นๆ ทานไม่ได้ มีพิษ

 

สำหรับคนจีนจะทานเฉพาะดอกตูมเท่านั้น ดอกสดใช้ผัดน้ำมันหอย อ้อยหวานขอยืนยันว่าอร่อย เดี๋ยวนี้ที่บ้านไม่มีแล้ว แต่ถ้าไปเจอในป่าในดงก็ได้เก็บมาผัดกินบ้าง ดอกสดนำไปชุบแป้งทอดก็อร่อยดีค่ะ

 

ที่มณฑล ฮัวเหลียน (Hualien) ไต้หวัน มีฟาร์มเดย์ลิลลี่ขนาดใหญ่ซึ่งกินอาณาเขตภูเขาหลายลูก เพราะเดย์ลิลลี่ทนแล้งและน้ำท่วมได้ดี ปรับตัวเก่ง หนาวก็ยังทนได้ และไม่ต้องดูแลมาก จึงเหมาะกับสภาพภูเขาหินของที่นี่

 

ในเดือนสิงหาคมและกันยายน ทุ่งดอกเดย์ลิลลี่จะเหลืองอร่ามไปทั้งภูเขา ทุกๆ ปีจะดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วซอกมุมของเกาะไต้หวันให้มาที่มณฑล ฮัวเหลียน ในปี 2013 รัฐบาลท้องถิ่นได้ตกลงกับเกษตรกร ให้เหลือทุ่งเดย์ลิลลี่ประมาณ 70 ไร่ไว้เพื่อการท่องเที่ยว จึงยิ่งทำให้ภูเขาตรงนี้สีเข้มขึ้น แถมในช่วงนี้ร้านอาหารแถบนั้นจะมีเมนูดอกไม้จีนไว้บริการ เห็นว่ามีไอศครีมรสดอกไม้จีนด้วยละ

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพสวยๆ จากบล็อกของคุณ Hanjié Wu ดูรายละเอียดการท่องเที่ยวและที่พักได้ ที่นี่

 

การเก็บเกี่ยวในฟาร์มเดย์ลิลลี่ เป็นฟาร์มที่งดงามมาก

 

หลังจากนั้นก็นำไปตากแห้ง

 

ดอกไม้จีนแห้งนอกจากใช้ทำต้มจืดกระดูกหมูแล้ว

 

ยังทำกินได้อีกหลายแบบเช่น ปีกไก่ต้มซีอิ้วกับดอกไม้จีน ดูสูตรได้ที่นี่แต่เป็นภาษาอังกฤษนะ

 

พะโล้หมูสามชั้นกับดอกไม้จีนแห้ง

 

ดอกไม้จีนแห้งผัดเห็ดหูหนู สำหรับคนที่อ่านภาษาจีนได้ ดูสูตรได้ที่นี่

จำได้ว่าในสมัยก่อน ตอนที่ย่ากินเจ เมนูยอดฮิตที่อ้อยหวานชอบและเฝ้ารอก็คือ ดอกไม้จีนแห้งผัดเห็ดหูหนูกับวุ้นเส้น คิดถึงย่าจัง..

 

ส่วนจานนี้ผัดน้ำมันหอยทั้งดอกสดและดอกแห้ง ดูสูตรได้ที่นี่

 

และยังนำมาทำชาสุขภาพได้อีกด้วย

ประโยชทางโภชนาการ

ดอกเดย์ลิลลี่มีสารเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และธาตุเหล็กส่วนหัวเดย์ลิลลี่มีโปรตีนและกรดไขมัน

ประโยชทางยา

น้ำชาดอกเดย์ลิลลี่ใช้ในการรักษาโรคเครียด (post-traumatic stress disorders) แพทย์สมุนไพรจีนใช้เป็นยาแก้ปวด ยากล่อมประสาท และใช้ในการคลอดบุตร

หัวเดย์ลิลลี่มีฤทธิ์ต้านจุลชีพและขับพยาธิ บางคนกล่าวว่าหัวเดย์ลิลลี่สามารถชะลอการเจริญเติบโตของมะเร็งด้วย

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

http://tropics.nu/daylilies-and-golden-needles/

http://www.hgtvgardens.com/foraging/wild-man-dig-into-some-delicious-daylilies

http://honest-food.net/2010/06/29/dining-on-daylilies/

http://www.eattheweeds.com/daylily-just-cloning-around-2/

http://www.motherearthnews.com/organic-gardening/how-to-sustainably-harvest-daylilies-zbcz1307.aspx#axzz3Ha6fLJhw

http://www.organicvalley.coop/recipes/features/wild-edibles/please-do-eat-the-daylilies/

http://thewildgarden.ca/the-inaugural-plant-walk/

http://tacticalintelligence.net/blog/wild-edibles-the-daylily.htm

http://lilyfarm.pixnet.net/blog/post/14549359-%E5%A6%82%E4%BD%95%E9%81%B8%E8%B3%BC%E9%87%91%E9%87%9D

http://yuminghui.pixnet.net/blog/post/29607280-%E8%B5%A4%E7%A7%91%E5%B1%B1%E9%87%91%E9%87%9D%E8%8A%B1%E5%AD%A3

 

 

I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 


ถึงเวลาบอกลาใบ

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

สุดปลายฤดูใบไม้ร่วง ก็ถึงเวลาที่ต้นไม้และผู้คนที่นี่ต้องบอกลาใบไม้กัน และถึงเวลาที่ต้องเก็บกวาดใบไม้กันยกใหญ่ของปี

 

อ้อยหวานยังออกไปปั่นจักรยานทุกวัน ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงเช่นนี้อากาศเย็นสบาย ปีนี้อากาศอบอุ่นกว่าที่ควรจะเป็น ปรกติอากาศช่วงนี้จะเริ่มหนาวแล้ว จะใส่กางเกงขาสั้นอย่างนี้ไม่ได้

 

แต่เส้นทางจักรยานจะมีผู้คนน้อยลง คนน้อยๆ อย่างนี้แหละถูกใจอ้อยหวานยิ่งนัก มีคนถามอยู่บ่อยๆ ว่า ‘ไม่เหงาหรือ ไปไหนมาไหนอยู่คนเดียว’  อ้อยหวานไม่เคยรู้สึกเหงาเลย

หากมีความสันโดษก็ไม่มีคำว่าเหงา

 

วันก่อนมาเจอสองหนุ่มเก็บกวาดใบไม้ในสวนป่า คนหนึ่งเป่าใบไม้ไปรวมกัน อีกคนดูดและตัดใบไม้ใส่ในรถ เมืองออตตาวาเป็นเมืองที่สะอาดที่สุดในแคนนาดาก็ว่าได้

 

ผลออกมาก็เป็นเช่นนี้ สะอาดเอี่ยมอ่องไปเลย

 

ด้านปิกนิคก็สะอาดน่านั่งเหมือนกัน

 

แล้วก็มาจ๊ะเอ๋กับไก่งวงป่าแก๊งส์นี้ มาป่วนบนทางจักรยาน

 

และเจ้าป่าที่เจออยู่ทุกวัน

 

สองสามปีมานี้ต้นไม้ที่เมืองออตตาวาโดนโรคระบาด ต้องตัดทิ้งกันเป็นร้อยๆ พันๆ ต้น ต้นที่จะถูกตัดในเวลาถัดมาจะมีเครื่องหมายกากะบาดสีแดง แต่เมืองออตตาวาก็ไม่นิ่งเฉย ปีนี้มีการปลูกต้นไม้ทดแทนเป็นพันๆ ต้นเหมือนกัน

 

ถนนหน้าบ้านของอ้อยหวาน ต้นไม้ส่วนใหญ่จะเป็นต้นโอ๊ค ที่สูงใหญ่และมีใบดกหนามากๆ รูปนี้ถ่ายเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ปรกติแล้วใบโอ๊คจะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล แต่ปีนี้ผิดปรกติใบโอ๊คเปลี่ยนสีได้สวยกว่าธรรมดา

 

หน้าบ้าน งานหนักเลย ต้องกวาดกันหลายรอบ ทุกบ้านเก็บกวาดแล้วใส่ในถุงกระดาษที่มีขายอยู่ทั่วไป

 

ช่วงนี้จะมีรถของเทศบาลมาเก็บถุงใบไม้ทุกอาทิตย์ ดูดิยังต้องเก็บกวาดใบไม้กันอีกหลายรอบ

 

ขอคัดลอกข้อคิดจากนิตยสาร "สาวิกา"ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๗๒ เขียนโดยคุณสมคิด ชัยจิตวนิช

ข้อคิดจากการกวาดใบไม้รอบแรก

"ที่เขาเรียกว่า... ชีวิตเหมือนใบไม้ร่วง เป็นอย่างนี้เอง...

ช่างร่วงเร็วเหลือเกิน ไม่มีทางที่เราจะหยุดมันได้...

ทุกนาทีมีใบไม้ร่วงหล่นอยู่เสมอ ไม่เคยมีวันไหนที่ใบไม้ไม่ร่วง"

 

ข้อคิดจากการกวาดใบไม้ครั้งที่สอง

"กิเลส ... ก็เหมือนใบไม้ที่ร่วงหล่นอยู่ตามพื้นไม้นี้

เราต้องหมั่นกวาดทิ้งทำความสะอาดอยู่เสมอทุกวัน...

ไม่งั้นมันก็สุมเต็มพื้นใจ รกรุงรัง แลดูไม่งาม"

- สมคิด ชัยจิตวนิช -

จากนิตยสาร "สาวิกา"ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๗๒

สรรหามาฝากโดย สาวิกา

 

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 

เล่าสู่กันฟัง “คลื่นกระทบฝั่ง”

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

 

วันนี้อ้อยหวานเอาเรื่องคลื่นกระทบฝั่งมาเล่าสู่กันฟัง เป็นคลื่นกระทบฝั่งที่ไม่ธรรมดา เพราะเป็นคลื่นที่กวาดแผ่นดินญี่ปุ่นหลังจากสึนามิครั้งใหญ่ในปี 2011 ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก แล้วมากระทบฝั่งที่ทวีปอเมริกาเหนือในปีต่อๆ มา

 

 

เริ่มจากส่วนหนึ่งของท่าเรือทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กยาวกว่า 60 ฟุต สูงเกือบเจ็ดฟุตและหนัก 165 ตัน ได้เดินทางข้ามน้ำข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นระยะทางถึง 8,050 กิโลเมตร แล้วมาเกยฝั่งที่เมืองพอร์ตแลนด์ สหรัฐอเมริกา ในปี 2012

 

ท่าเรือชิ้นนั้นมีป้ายเหล็กเขียนรายละเอียดเป็นภาษาญี่ปุ่นกำกับอยู่ด้วย ว่าใครเป็นผู้ผลิตและผลิตวันไหน ไม่ผิดพลาดแน่นอน

 

แถมยังพกพาเพื่อนร่วมทางมาด้วย มีตั้งแต่สาหร่ายญี่ปุ่น พืชในทะเล หอย และสัตว์ทะเลแปลกๆ ที่ไม่ใช่พืชและสัตว์ของชายทะเลฝั่งนี้

 

นักวิทยาศาสตร์คาดคะเนกันว่าเศษขยะสึนามินี้มีอยู่ประมาณ 1.5 ล้านตัน แผ่กระจายไปทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกตอนบน และกำลังเดินทางไกลมายังชายฝั่งตะวันตกของแคนนาดาและสหรัฐอเมริกา และส่วนใหญ่จะมาเกยฝั่งในปีหน้า

 

ตั้งแต่กลางปี 2012 เป็นต้นมา มีขยะสึนามิมาเกยฝั่งมากมาย ตั้งแต่ชิ้นส่วนของท่าเรือ เรือน้อยใหญ่มาพร้อมผู้โดยสาร ไปจนถึงตะกร้า ตะแกรง กระป๋อง กระแป๋ง กะละมัง ขวด ฯลฯ และรองเท้า

 

ผู้โดยสารของเรือสึนามิลำหนึ่งคือ ปลาลายญี่ปุ่น (Striped beakfish) 5 ตัวอาศัยอยู่ในเรือที่ลอยลำข้ามมหาสมุทรตั้งแต่ต้นปี 2011 มาเกยฝั่งที่รัฐวอชิงตันของสหรัฐอเมริกาในปี 2013 และปลาทุกตัวมียังชีวิตอยู่!!!

 

ผู้คนทางฝั่งนี้ได้เตรียมตัวรับมือกันอย่างเต็มที่ มีการรวมตัวกันของกลุ่มอาสาสมัครช่วยกันเก็บขยะสึนามิ และทำความสะอาดชายฝั่งทะเล

 

มีการให้การศึกษาและคำเตือน ว่าขยะสึนามิอาจจะมีสารกัมมันตรังสีอยู่ด้วย

 

กระป๋อง กระแป๋ง กะละมัง ขวด ฯลฯ จริงๆ

 

มีทุกอย่างเลย

 

ที่เหลือเชื่อก็คือรถมอเตอร์ไซค์ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน ได้เดินทางจากภูมิภาคมิยะกิ (Miyagi) ญี่ปุ่น (ภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบสูงสุดจากสึนามิครั้งใหญ่ครั้งนั้น) หนึ่งปีผ่านไปได้มาเกยฝั่งที่บริติช โคลัมเบีย (British Columbia) แคนนาดา แถมยังสืบสาวหาเจ้าของที่ญี่ปุ่นได้ด้วย เพราะยังมีป้ายทะเบียนรถติดอยู่ และที่เหลือเชื่อมากๆ ก็คือเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์ก็ยังมีชีวิตอยู่ด้วย

 

ปัจจุปันรถมอเตอร์ไซค์ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน คันนั้นตั้งโชว์อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน เมือง Milwaukee สหรัฐอเมริกา

 

มีสิ่งหนึ่งที่สดุดใจอ้อยหวานมากที่สุดคือ ชิ้นส่วนของประตูโทริซึ่งได้ถูกพัดพามาเกยฝั่งอยู่หลายชิ้น เป็นภาพที่กระทบใจมาก สองปีที่ล่องลอยอยู่ในที่เคว้งคว้าง แล้วถูกคลื่นซัดพามากระทบฝั่งในที่ไกลโพ้น

 

ชิ้นส่วนของประตูโทริอีกอันหนึ่ง ยังมีสีแดงสดใสอยู่เลย หลังจากการเดินทางกว่าแปดพันกิโลเมตร ในเวลาสองปีกว่า 

คลื่นและลมมีพลังอำนาจมหาสารนัก

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ

http://lighthousememories.ca/2011/12/19/japanese-debris-on-the-bc-coast-from-the-tsunami/#.VF7WlWegrYQ

http://motherboard.vice.com/blog/this-year-more-debris-than-ever-will-wash-up-on-us-shores-from-japans-2011-tsunami

http://www.oceanconservancy.org/our-work/marine-debris/tsunmi-debris-what-you-need.html

http://www.newscientist.com/blogs/shortsharpscience/2013/04/japanese-fish-tsunami.html

http://www.dailymail.co.uk/news/article-2149591/Experts-warn-hundreds-BONES-wash-U-S-beaches-1-5million-tons-tsunami-debris-reaches-North-America.html

http://www.aquablog.ca/2014/10/cleaning-up-tsunami-debris-from-the-west-coast-trail/

http://www.cbc.ca/news/canada/british-columbia/motorcycle-washed-up-in-b-c-may-be-japanese-tsunami-debris-1.1237580

http://www.ride-and-read.com/2012/10/harley-davidson-museum-unveils-tsunami.html

 

 

I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 

เรียนรู้จากต้นไม้..ใบไม้

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

ต้องกล่าวคำบอกลา..แม้ว่าสุดอาลัย

แต่ไปเถิด..ไป

เพราะฉันรู้ว่า..เธอจะคงอยู่ในใจของฉันเสมอไป

คำคม อ้อยหวาน

วันนี้อ้อยหวานเอารูปต้นไม้และใบไม้ ที่ถ่ายเก็บไว้มาให้ชมกัน และได้ใส่ข้อคิด คำคม เล็กๆ น้อยๆ เสริมไว้ให้อ่านกัน  ข้อคิดและคำคมมาจากหลายบุคคล ขอขอบคุณมา ณ.ที่นี้

อ้อยหวานขอแปลข้อคิดและคำคมบางอัน ตามความคิดเห็นของอ้อยหวานเอง หากเพื่อนๆมีความคิดเห็นอื่นๆ อีก อย่าลังเลใจ โปรดเขียนลงในข้อคิดเห็น ขอบคุณค่ะ

 

มนุษย์เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตสิ่งเดียวในโลกนี้ที่ตัดต้นไม้มาทำกระดาษ จากนั้นก็เขียนคำว่า “โปรดรักษาต้นไม้” ไว้บนกระดาษนั้น

Human Are The Only Creature In This World, Who Cut the Trees, Made Paper From It And Then Wrote, Save Trees” On the Paper.

 

เธอจะรู้สึกสูญเสีย แต่ในสิ่งที่เธอยึดติดไว้

พระพุทธองค์

You can only lose what you cling to.

Buddha

 

หากปลูกต้นไม้ไว้ในสวนใจ..สักวันจะได้ยินเสียงนกร้องเพลง

คำคม จีน

"Keep a green tree in your heart, and perhaps a singing bird will come."

Chinese Proverb

มีผู้คนจำนวนมากขวนขวายเสาะหาความสุขในที่ต่างๆ คิดอยู่เสมอว่าถ้าฉันมีสิ่งนั้นหรือสิ่งนี้ แล้วฉันจะมีความสุข ถ้าเป็นเช่นนั้นมันก็ไม่ใช่สุขที่แท้จริง เพราะความสุขที่เกิดจากสิ่งภายนอกนั้นมันไม่ถาวร ทำให้ต้องขวนขวายเสาะหากันต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด แต่หากเราสร้างสุขไว้ในใจเรา ก็เหมือนกับปลูกต้นไม้ไว้ในใจ จะมีความสุขที่แท้จริง เปรียบเหมือนมีนกมาร้องเพลงให้ฟัง..

 

ต้นไม้จะเติบโตสูงใหญ่ปานใด ใบไม้จะร่วงหล่นลงสู่ดินเสมอ

คำคม จีน

Though a tree grows so high, the falling leaves return to the root.

Chinese Proverb  

 

ไม่มีร่มไม้? ให้ด่าตัวเอง อย่าก่นว่าดวงอาทิตย์

สุภาษิตจีน

No shade tree? Blame not the sun, but yourself

Chinese Proverb

 

เมื่อใบไม้ร่วงหล่นลงจากต้น เราควรโทษใครหนอ?

โทษลมที่พัดใบไม้ปริวว่อน

หรือ..โทษต้นไม้ที่ไม่ดูแลรักษาใบ

หรือ..โทษใบไม้เก่าแก่ที่เหนื่อยล้าเกินกว่าจะยึดรั้ง

ชีวิตก็เป็นเช่นนี้เอง

เราจะสุขได้ ถ้าหาก..พยายามแก้ไขมัน? หรือ

คล้อยตามมัน?

 

จงมองให้ล้ำลึกลงไปในธรรมชาติ แล้วเธอจะเข้าใจโลกดีขึ้น

อัลเบิร์ต ไอสไตน์

Look deep into nature, and then you will understand everything better.

 Albert Einstein

อ้อยหวานชอบคำคมอันนี้มาก และพยายามมองลงไปในธรรมชาติอยู่เสมอ หวังให้ใจตัวเองเรียนรู้จะได้ทุกข์น้อยลงและสุขมากขึ้น

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 

ให้ดอกไม้ปลอบใจ

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

 

ช่วงเวลาอาทิตย์สองอาทิตย์นี้มีข่าวคราวที่ทำให้อ้อยหวานและเพื่อนๆ ชาวบ้านสวนเศร้าหมอง บล็อกนี้อ้อยหวานขอเอาดอกไม้มาปลอบใจ เพราะคติของอ้อยหวานก็คือ รู้สึกเศร้าใจ..ให้ดมดอกไม้

 

ดอกไม้ปลอบใจในบล็อกนี้ อ้อยหวานถ่ายรูปเก็บไว้ตอนโต๋เต๋อยู่ที่ญี่ปุ่นเป็นเวลาหนึ่งเดือน  ได้ถ่ายรูปเก็บไว้มากมาย ดอกแรกนี้มีชื่อว่า เมาท์เทิล ลอเรล (mountain-laurel) หรือลอเรลภูเขา มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Kalmia latifolia

 

เป็นดอกไม้ที่สวยมากๆ แต่มีกลิ่นเหม็นมากๆ เหมือนกัน อ้อยหวานดมเสียงเต็มปอด เพราะนึกว่าจะหอมมากเหมือนรูปที่สวย หมึนไปเลยละ เรียกได้ว่าดมเข้าไปแล้วหายเศร้าใจไปเลย แต่มีผึ้งและแมลงตอมกันเต็ม คงจะหอมสำหรับผึ้งและแมลง เป็นพืชที่มีพิษตั้งแต่ใบ ดอก กิ่งก้าน อาการของพิษเริ่มปรากฏขึ้นประมาณ 6 ชั่วโมงหลังจากบริโภค มีอาการดังนี้ หายใจลำบาก เบื่ออาหาร ซึมเศร้า อาเจียน ท้องเสีย เหนื่อยอ่อน ชัก อัมพาต โคม่า และอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดอกเมาท์เทิล ลอเรลนี้ นอกจากจะ 'สวยแต่รูป จูบไม่หอม'แล้ว ยัง 'สวยอันตราย'อีกด้วย

ขอบคุณ ข้อมูลจาก  WIKIPEDIA

 

มีถิ่นกำเนิดที่ภาคตะวันออกของสหรัฐอเมริกา แต่ต้นนี้อยู่ในสวนญี่ปุ่นที่โอะมิยะ ดอกดกเต็มต้นเลย

 

ดอกด็อกวูด (dogwood) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Cornus kousa บ้านเกิดของด็อกวูดนั้นกว้างไกล ตั้งแต่ยูเรเซีย (ยุโรปและเอเชีย) ตอนเหนือ จีน ญี่ปุ่น ไปจนถึงอเมริกาเหนือ

 

สีขาวก็สวย

 

ต้นด็อกวูดในสวนโยะโยะกิของโตเกียว

เนื้อไม้ด็อกวูดมีความหนาแน่นมาก ทำให้เป็นไม้ที่มีราคาแพง ไม้ด็อกวูดใช้สำหรับทำกระสวยเครื่องทอผ้า มือจับของเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ สเกตบอร์ด และสิ่งเล็กๆ อื่นๆ ที่ต้องใช้ไม้ที่คงทนและแข็งแรง

 

ดอกสโนวบอล ไวเบอนัม จีน (Chinese Snowball Viburnum) ดูคล้ายกับดอกไฮเดรนเยียมาก แต่ใบไม่เหมือนกัน เลยทำให้มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า แอนนาเบล  ไฮเดรนเยีย (Annabelle hydrangeas)

 

เริ่มต้นจะเป็นสีขาว แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน

 

ต้นนี้อยู่หน้าเจดีย์เก่าแก่ของวัดที่ทุ่งราบกิบิ โอะกะยะมะ

 

ดอกมิดแลนด์ ฮอทอนด์ (Midland Hawthorn) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Crataegus laevigata เป็นพืชตระกูลเดียวกับกุหลาบ มีถิ่นกำเนิดที่ภาคตะวันตกและภาคกลางของยุโรป

 

ต้นนี้อยู่ที่หมู่บ้านบอนไซ ที่โอะมิยะ อ้อยหวานไปที่นั่นตรงกับวันที่เขาปิดกัน บ้านบอนไซแต่ละบ้านปิดประตูกันหมด เลยปั่นจักรยานซอกแซกไปเรื่อยๆ มาถึงด้านหลังของบ้านบอนไซหลังใหญ่หลังหนึ่ง มีประตูเล็กๆ เปิดอยู่ ได้การละทีนี้ จอดจักรยานแล้วเดินเข้าไปขอชม เขาคงสงสารว่าปั่นจักรยานและมาจากที่ไกล เลยได้เข้าไปเตร็ดเตร่ มีป้ายไม่อนุญาติให้ถ่ายรูปติดอยู่ แต่เขาก็ให้อ้อยหวานถ่ายรูปได้ มีบอนไซสวยๆทั้งนั้นเลย โชคดีจัง

 

ดอกมานูกะ (Manuka) หรือ ต้นชานิวซีแลนด์ (New Zealand teatree) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Leptospermum scoparium มีถิ่นกำเนิดที่นิวซีแลนด์และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย

 

ต้นนี้อยู่ที่หมู่บ้านบอนไซ ที่โอะมิยะเช่นกัน แต่เขายังไม่ได้ตัดแต่ง เลยดูไม่สวยเท่าที่ควร

 

โปรดติดตามดมและชมดอกไม้ ในตอนต่อไป

 

ขอให้เพื่อนๆ มีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 

 

เก็บดอกไม้เอาไว้ในใจ

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

ดอกไม้ในวันนี้มีกลิ่นหอมหวานขจรกระจาย ได้กลิ่นไหม? ต้องได้สินะ กลิ่นหอมหวานอบอวลไปทั่วบ้านสวน จิตนาการเอาหน่อยนะคะ ดอกวิสทีเรีย (Wisteria) นี้หอมจริงๆ หอมคล้ายๆกับมะลิผสมด้วยดอกปีบและมหาหงส์ คงจะจิตนาการกันได้นะคะ

 

เมื่อขณะนี้ที่บ้านเป็นเช่นนี้ ดอกไม้ในวันนี้จงยังคงเป็นดอกไม้จากวันวาน และยังเป็นดอกไม้จากญี่ปุ่นที่อ้อยหวานขนกลับมาบ้านมากมาย ที่ขนมาคือรูปถ่ายดิจิทอลและความทรงจำ นึกถึงทีไรได้กลิ่นหอมอบอวลใจ

 

ถึงแม้นอกบ้านจะขาวโพลน สีสันของดอกไม้ในใจก็ยังสดสวย รอเวลาที่จะได้เจอกันอีกในฤดูใบไม้ผลิ

 

วิสทีเรีย เป็นไม้เลื้อยตระกูลถั่ว (Fabaceae)  เป็นพืชพื้นเมืองของภาคตะวันออกของสหรัฐฯ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น สามารถเลื้อยได้สูงถึง 20 เมตร ซุ้มวิสทีเรียจะต้องแข็งแรงมากๆ เพราะเถาหนักและแข็งเหมือนต้นไม้ ซุ้มนี้อยู่ที่วัดฮะเซะ-เดะระ ที่คามาคุระ

ขอบคุณ ข้อมูลจาก  WIKIPEDIA

 

วัดฮะเซะ-เดะระ อยู่ตรงเชิงเขา อ้อยหวานนั่งใต้ซุ้ม นั่งชมวิวเหนือเมืองคามาคุระ สูดดมกลิ่นหอมของดอกไม้สีฟ้าม่วงสุดสวย ยังติดตรึงอยู่ในความทรงจำ

 

ช่อดอกวิสทีเรียแต่ละชนิดจะมีความยาวที่แตกต่างกัน มีตั้งแต่ 10 เซ็นติเมตรไปจนถึง 80 เซ็นติเมตร ดูคล้ายๆ กับราชพฤกษ์ มีสีม่วงอ่อน สีม่วงแก่ สีชมพู และสีขาว

ต้นนี้ก็อยู่ที่วัดฮะเซะ-เดะระเช่นกัน

 

ต้นนี้สีม่วงขาว

 

ส่วนต้นใหญ่ที่ซุ้ม มีสีม่วงอ่อนกับสีม่วงแก่  สวยมากมาย

 

ต้นนี้เป็นแบบช่อสั้น มีสีชมพูกับสีม่วง

 

และเป็นพันธ์ที่ไม่มีใบเวลาที่มีดอก คือใบจะมาหลังจากดอกหมด

ซุ้มนี้อยู่ที่วัดอิชิยะมะ-เดะระ ริมทะเลสาบบิวะ (Biwa)ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น

 

ซุ้มนี้อยู่ที่วัดอิชิยะมะ-เดะระเช่นกัน แต่เป็นคนละแบบ

 

วิสทีเรียปลูกในกระถางเป็นบอนไซก็ได้ ต้นนี้ช่อดอกยาวมาก

 

บอนไซวิสทีเรีย แบบช่อสั้น

 

อ้อยหวานปั่นจักรยานซอกแซกอยู่ที่ ‘อะระชิยะมะ’ (Arashiyama) ชานเมืองเกียวโต ได้กลิ่นหอมดอกไม้แต่ไกล แต่เสียดายที่อยู่ในรั้วบ้านคน แต่ก็ยังมุดเข้าไปแอบถ่ายรูป ได้มาหนึ่งรูป คงจะปลูกสองต้นในซุ้มเดียวกัน สวยจัง

 

ซุ้มวิสทีเรียซุ้มนี้อยู่ที่สวนคิโยะสุมิ กลางกรุงโตเกียวเป็นซุ้มใหญ่ แข็งแรง และมีวิสทีเรียปีนอยู่หลายต้น

 

ออกดอกกันแข่งกันสวย และหอมฟุ้งไปไกล ได้ใจไปหมดดวง

 

ส่วนต้นนี้ไม่ใช่วิสทีเรีย แต่หอมฟุ้งไม่แพ้กัน เป็นตระกูลถั่ว (Fabaceae) เหมือนกันแต่ไม่เป็นต้นไม่เลื้อยเหมือนวิสทีเรีย

 

มีชื่อว่า black locust ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Robinia pseudoacacia เป็นพืชท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกา ต้นนี้อยู่ที่ทุ่งราบกิบิ โอะกะยะมะตอนนั้นกำลังหลงทาง อ้อยหวานต้องปั่นจักรยานกลับไปกลับมา เฮ้อ! หยุดดมดอกไม้ดีกว่า ออกดอกเสียดกพราวเลย หอมไปไกลแสนไกล

ขอบคุณ ข้อมูลจาก  WIKIPEDIA

 

โปรดติดตามดมและชมดอกไม้กับอ้อยหวาน ในตอนต่อไป

 

ขอให้เพื่อนๆ มีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 

 

เล่าสู่กันฟัง ..เรื่องของแคฝรั่ง

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

บล็อกก่อนอ้อยหวานเอาดอกวิสทีเรียมาให้ชม แล้วแถมในตอนท้ายด้วยดอก black locust ที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Robinia pseudoacacia คุณเสินเมนท์ขึ้นมาว่า “เจ้าสองต้นดอกขาว คล้ายแคฝรั่งบ้านเรานะคุณอ้อย” อ้อยหวานก็รีบเปิดหาดูรูปแคฝรั่ง แล้วมันก็คล้ายกันจริงๆ ยังกะฝาแฝดท้องแม่เดียวกันแปะเลย ทำให้ต้องขุดค้นหาข้อมูล ซึ่งได้มามากมาย แล้วก็เลยได้เอามาเล่าสู่กันฟังในบล็อกนี้

 

หลังจากขุดคุ้ยแล้ว อ้อยหวานแน่ใจว่าเจ้าดอกไม้ของอ้อยหวานอันนี้คือ black locust หรือ Robinia pseudoacacia ไม่ใช่แคฝรั่ง

 

black locust หรือ Robinia pseudoacacia เป็นไม้ตระกูลถั่ว (Fabaceae) มีถิ่นกำเนิดที่สหรัฐอเมริกา

 

ใบมีรูปวงรีปลายใบโค้งมน ที่ฐานของใบจะมีหนามเล็กๆสั้นๆ ต้นโตเต็มที่จะสูงถึง 52 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 1.6 เมตร เปลือกของต้นจะหนาและยาบเป็นรอยแตกและมีสีดำ

 

ดอกหอมแรง หอมกว่าวิสทีเรียเสียอีก WIKIPEDIA บอกว่าหอมคล้ายดอกส้ม อ้อยหวานไม่เคยได้กลิ่นดอกส้ม เคยแต่ดอกมะนาว กลิ่นจะหวานกว่าดอกมะนาว แต่หอมมากๆๆๆ จริงๆ หอมไกลหมื่นลี้ด้วย ดอกมีสีขาว สีม่วงอ่อน หรือสีม่วงแก่ เฉพาะดอกเท่านั้นที่กินได้ ส่วนอื่นๆ เช่นใบ ราก และเปลือกมีพิษ ดอก black locust นิยมนำมาทำชาสำหรับรักษาโรครูมาติซึ่มหรือโรคไขข้ออักเสบ และยังเอามาทำแยมและแพนเค้กได้ แถมยังนำมาสกัดทำหัวน้ำหอมอีกด้วย

แม้ว่าเปลือกไม้จะมีพิษ แต่บางคนจะนำมาแช่เหล้าจิบเป็นยาบำรุงกำลัง แต่ปริมาณมากจะใช้เป็นยาทำให้อาเจียนและยาถ่าย

 

ส่วนแคฝรั่งของบ้านเรานั้นมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Gliricidia sepium และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นเช่น ในประเทศฮอนดูรัสเรียกว่า Madreado ในประเทศฟิลิปปินส์เธอกลับมีชื่อว่า Kakawate ส่วนในกัวเตมาลาเธอเปลี่ยนชื่อไปเป็น Madre Cacao แต่เมืองไทยบ้านเราเรียกเธอว่า ‘แคฝรั่ง’

 

แคฝรั่งเป็นต้นไม้ขนาดกลาง ต้นโตเต็มที่จะสูง 10-12 เมตร เปลือกเรียบ มีตั้งแต่สีเทาขาวไปจนถึงสีน้ำตาลแดง มีถิ่นกำเนิดที่อเมริกากลางและเม็กซิโก ดอกแคฝรั่งจะมีสีชมพูสดหรือสีม่วงแต้มขาว ใบจะเรียวแหลมกว่าใบของ black locust

 

ประเทศในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน (tropical and sub-tropical) ใช้แคฝรั่งในหลายๆ รูปแบบ เช่น ใช้เป็นรั้วมีชีวิต แคฝรั่งเป็นพืชที่โตเร็ว สามารถเติบโตเมตรครึ่งถึงสองเมตรภายในหนึ่งเดือน เป็นพืชที่นิยมปลูกเพื่อให้ร่มไม้แก่พืชชนิดอื่นเช่น โกโก้ กาแฟ ชา และใช้ปลูกแซมกับปลูกพืชแซมกับข้าวโพด

 

ใช้เป็นอาหารสัตว์ ใช้ทั้งใบสดและนำไปทำเป็นอาหารเม็ด หมายเหตุ เฉพาะดอกเท่านั้นที่มนุษย์บริโภคได้ และต้องทำให้สุกก่อนบริโภค ห้ามทานสด

 

ใบของแคฝรั่งใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ช่วยในการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินได้ดี

 

แคฝรั่งมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูดิน ช่วยเพิ่มไนโตรเจนในดิน ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย และประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้ปุ๋ยเคมี

ต้นแคฝรั่งใช้เป็นฟืนหรือใช้ทำถ่านได้ดี เพราะเผาไหม้ช้า ไม่มีประกายไฟและมีควัน น้อย

นอกจากนี้เกษตรกรประเทศละตินอเมริกาใช้ใบแคฝรั่งในการยาไล่แมลง โดยการนำใบมาตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำ แล้วนำไปพอกตัวให้กับสัตว์เลี้ยง เปลือกและใบของแคฝรั่งใช้ในการรักษาโรคผิวหนังในกัวเตมาลา

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ

Robinia pseudoacacia

http://en.wikipedia.org/wiki/Robinia_pseudoacacia

http://www.transformationalgardening.com/forage/plants/robinia-pseudoacacia-images.html

http://www.henriettes-herb.com/eclectic/kings/robinia.html

http://foragingpictures.com/plants/Black_locust/

แคฝรั่ง Gliricidia sepium

http://en.wikipedia.org/wiki/Gliricidia_sepium

http://www.tropicalforages.info/key/Forages/Media/Html/Gliricidia_sepium.htm

http://www.ansci.cornell.edu/plants/medicinal/gliricid.html#toxicity

http://www.stuartxchange.com/Kakawati.html

http://www.fao.org/ag/agp/agpc/doc/publicat/gutt-shel/x5556e07.htm

http://schoolnutritionphils.wordpress.com/

 

 

I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 

เล่าสู่กันฟัง ..รวมญาติ

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

จากวิสทีเรีย สู่ black locust แคฝรั่ง จนมาถึง กระพี้จั่น หนูรักเอารูปมาลงให้อ้อยหวานชมตั้งแต่ตอนพาเที่ยวคามาคุระ ญี่ปุ่นแต่ตอนนั้นกำลังติดลมพาเที่ยวและกำลังจะไปเที่ยวอีก รอบสองนี้หนูรักเอารูปมาให้ชมอีกครั้ง และอ้อยหวานก็จัดให้

 

ถือว่าเป็นการพบปะของวงศาคณาญาติก็แล้วกัน เพราะทั้งสี่ต้นต่างก็เป็นไม้วงศ์ตระกูลเดียวกัน วงศ์ตระกูลนี้ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Fabaceae หรือ Leguminosae คือวงศ์ถั่วนั่นเอง

 

จัดว่าเป็นวงศ์ตระกูลใหญ่พรรคพวกเยอะมีถึง 18,860 สายพันธุ์ ถือว่าใหญ่เป็นอันดับสามในปฐพีนี้ รองจากพวกตระกูลกล้วยไม้ (Orchidaceae) และวงศ์ทานตะวัน (Asteraceae)

 

ขอบคุณรูป จาก  thaiarcheep.com

พืชตระกูลถั่ว หรือ Fabaceae นี้ มีตั้งแต่เป็นต้นไม้สูงใหญ่ ไม้เลื้อย ไปจนถึงพืชสวนครัว คำว่า Fabaceae มาจากภาษาลาติน Faba = ถั่ว

 

รากของพืชตระกูลนี้มีแบคทีเรียชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ มีชื่อเรียกว่าไรโซเบีย (Rhizobia) เป็นแบคทีเรียผู้ดี (ไม่ใช่ผู้ร้าย) แบคทีเรียไรโซเบียสามารถดึงเอาก๊าซไนโตรเจน (N2) จากอากาศ และแปลงรูปเป็นไนโตรเจน (NO3- or NH3) อาหารอร่อยของพืชที่ให้ที่อยู่แก่มัน ซึ่งเรียกว่า Symbiosis จากภาษากรีกแปลว่าอยู่ร่วมกัน ซึ่งอ้อยหวานขอแปลว่า ‘ร่วมกันเราอยู่ แยกกันเราแย่’ ..ตีกันมีแต่ฉิบหาย.. เอ้านอกเรื่องเสียแล้ว

 

ความสัมพันธ์ของพืชและไรโซเบียนี้เป็นความสัมพันธ์ทางชีวภาพที่สำคัญมาก

การจับไนโตรเจนในอากาศ หรือ Biological nitrogen fixation ย่อว่า (BNF) มีสูตรดังนี้ N2 + 8 H+ + 8 e− → 2 NH3 + H2 ปวตหัวไหม? นักวิทยาศาสตร์เขาช่างคิดกันเนอะ ยากๆ ก็ปล่อยให้เขาคิดกันไป อยากรู้มากกว่านี้ก็ไปดูที่นี่ Nitrogen fixation

ขอบคุณ ข้อมูลจาก  WIKIPEDIA

 

ทีนี้ก็มาถึงกระพี้จั่น ก็เป็นหนึ่งในตระกูลถั่ว (Fabaceae) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Millettia brandisiana Kurz เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีถิ่นกำเนิดที่เอเชียเขตร้อน  และภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย เป็นพืชท้องถิ่นของบ้านเรานี่เอง

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 8–20 เมตร เปลือกสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบทู่ โคนใบมนหรือสอบเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจางกว่า ใบแก่เกลี้ยง มีขนประปรายตามเส้นกลางใบด้านล่าง ดอกรูปดอกถั่ว สีขาวปนม่วง ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลเป็นฝักแบน โคนแคบกว่าปลาย เปลือกเกลี้ยงหนาคล้ายแผ่นหนัง ขอบเป็นสัน เมล็ดสีน้ำตาลดำ

ประโยชน์ : ใบอ่อนปรุงอาหาร เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างและทำเยื่อกระดาษ

การกระจายพันธุ์ : พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และพบในทุกภาคของประเทศไทย

นิเวศวิทยา : พบในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ที่ความสูง 450-800 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ขยายพันธุ์   โดยการเพาะเมล็ด ปักชำราก

สภาพที่เหมาะสม  สภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ทนแล้งได้ดี

ซึ่งจะหาดูได้ที่ สวนป๋าเปรม สงขลา,  สวนหลวง ร.9 ถนนศรีนครินทร์ กทม

 

ไหนๆ ก็รวมญาติแล้ว ก็ต้องขอเชิญมาหลายก๊กหน่อย งานพบปะสังสรรจะได้เอิกเกริก สนุกสนาน ครึกครื้นขึ้น อ้อยหวานจะทยอยเอาพืชวงศ์ตระกูลนี้ มาลงในบล็อกต่อไป

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ

http://en.wikipedia.org/wiki/Fabaceae

http://site2.generalprempark.com/en/article/5-zone2eng/136-vegetation-within-the-park-.html?start=3

http://treehistory.blogspot.ca/2011/12/millettia-brandisiana-kurz.html

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.php?page=search_detail&medicinal_id=107

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99

http://lib.payap.ac.th/webin/ntic/vegetable/Pi000063.pdf

 

 

I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 

 


เล่าสู่กันฟัง ..รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 2

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

จากบล็อกที่แล้วซึ่งอ้อยหวานจับเอาพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) มารวมญาติ จะไม่เชิญต้นอื่นก็กระไรอยู่ แต่ถ้าเชิญหมดก็ไม่ไหวเหมือนกัน เพราะตระกูลนี้เขาใหญ่ไม่ใช่เรื่อง ถือว่าใหญ่เป็นอันดับสามของโลก รองจากพืชตระกูลกล้วยไม้ (Orchidaceae) และทานตะวัน (Asteraceae) อ้อยหวานขอจับฉลากเอาก็แล้วกัน มาดูกันว่าใครได้รับเชิญให้มารวมญาติที่บล็อกนี้

 

ขอเชิญต้นแรกค่ะ ต้นล็อกวูด (Logwood) แน่นอนเป็นพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของเม็กซิโกและทางตอนเหนือของอเมริกากลาง

 

ในศตวรรษที่ 17 ถึงศตวรรษที่ 19 ล็อกวูด (Logwood) เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูง มีการปลูกและตัดส่งขายทั่วยุโรป เนื้อไม้ของล็อกวูดใช้ในการย้อมผ้า

ล็อกวูดมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Haematoxylum campechianum มาจากภาษากรีก Haima = เลือด และ xylon =ไม้ รวมกันก็คือไม้สีเลือด

ล็อกวูดเป็นแหล่งสีย้อมผ้าธรรมชาติที่สำคัญ นอกจากจะใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมสิ่งทอแล้ว ยังใช้ในการย้อมกระดาษอีกด้วย

 

ล็อกวูดเป็นไม้ขนาดกลาง โตเต็มที่จะสูงประมาณ 15 เมตร เป็นไม้มีหนาม เปลือกไม้มีสีเทาหรือสีน้ำตาล ช่อดอกออกที่ซอกใบ มีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมหวาน

 

พืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) ต้นต่อมา ก็ให้สีสันที่สวยสดเช่นกัน ต้นครามแท้ (true indigo) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Indigofera tinctoria เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ทั่วไปในทวีปเอเซียและแอฟริกา สันนิษฐานกันว่ามีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย

 

ต้นคราม (true indigo) เป็นพุ่มไม้สูงถึง 2 เมตร

 

มีดอกสีชมพูอ่อนไปจนถึงสีม่วง

 

สีย้อมได้จากการนำใบครามไปหมักกับน้ำ เพื่อให้สารธรรมชาติ indican glycoside ในใบ เปลี่ยนมาเป็นสีคราม

 

การย้อมสีด้วยต้นคราม (true indigo) นี้มีในประวัติศาสตร์มาเป็นเวลายาวนาน ต้นครามและการย้อมสีด้วยต้นครามมีอยู่ในบันทึกภาษาสันสกฤตเก่าแก่

‘Tellem textiles’ เป็นสิ่งทอโบราณที่เก่าแก่ที่สุดพบในแอฟริกาตะวันตก ค้นพบในถ้ำสำหรับฝังศพในประเทศมาลิ (Mali) เป็นสิ่งทอโบราณในศตวรรษที่ 11 หรือ 12 ย้อมสีด้วยคราม

 

ต้นครามเทียม หรือเรียกกันว่า ครามป่า, ครามกัวเตมาลา (Guatemalan indigo), ครามใบเล็ก (small-leaved indigo) หรือ Añil มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Indigofera suffruticosa

 

ต้นครามป่า (Indigofera suffruticosa) มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนของทวีปอเมริกา ตั้งแต่ภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา หมู่เกาะแคริบเบียน เม็กซิโก อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ลักษณะต้นเป็นพุ่ม เติบโตสูงถึง 1 เมตร

 

ต้นครามป่า (Indigofera suffruticosa) จะต่างจากต้นครามแท้ (Indigofera tinctoria) ตรงฝัก ฝักครามแท้จะตรง ถ้าฝักโค้งงออย่างในรูปก็คือต้นครามป่า และต้นครามป่าจะเตี้ยกว่ามาก

 

เช่นเดียวกับครามแท้ ต้นครามป่า (Indigofera suffruticosa) ก็สามารถนำมาทำสีย้อมผ้าได้เช่นกัน คุณ indigodonna ปลูกครามป่าและทำสีย้อมเอง ดูบล็อกของเธอได้ที่นี่

 

นอกจากนี้สีครามหรือสี indigo ธรรมชาติยังได้มาจากพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่พืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae)เช่นต้นวอด (woad) เป็นพืชวงศ์ผักกาด (Brassicaceae) ซึ่งเป็นพืชที่น่าสนใจมากอีกชนิดหนึ่ง อ้อยหวานจะเขียนถึงหลังจากงานรวมญาติวงศ์ถั่ว

 

พืชที่ให้สีครามหรือสี indigo ธรรมชาติและไม่ใช่พืชวงศ์ถั่วแต่เป็นพืชวงศ์ไผ่ (Polygonaceae) คือ ต้นครามจีน (Chinese indigo) ในประเทศจีนได้นำใบของต้นครามจีนมาทำสีย้อมผ้ามาตั้งแต่โบราณกาล

 

โปรดติดตามรวมญาติวงศ์ถั่ว ในตอนต่อไป

 

ขอบคุณรูป จาก WIKIPEDIA

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ

http://en.wikipedia.org/wiki/Haematoxylum_campechianum

http://database.prota.org/PROTAhtml/Haematoxylum%20campechianum_En.htm

http://www.prota4u.org/protav8.asp?h=M4,tinctoria&p=Indigofera+tinctoria

http://en.wikipedia.org/wiki/Indigofera_tinctoria

http://indigogrower.blogspot.ca/

http://en.wikipedia.org/wiki/Indigofera_suffruticosa

 

 

I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 

เล่าสู่กันฟัง ..รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 3

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

 

บล็อกนี้ยังเป็นการรวมญาติวงศ์ถั่ว (Fabaceae) พืชที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ที่นอกจากจะเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์แล้ว ยังใช้ทำปุ๋ยเป็นอาหารของพืชอื่นๆ บางชนิดเป็นแหล่งสีย้อมผ้าธรรมชาติที่สำคัญ บางชนิดมีดอกสวยหอมใช้เป็นไม้ประดับ บางชนิดใช้เป็นยารักษาโรค

 

พืชวงศ์ถั่วต้นแรกของบล็อกนี้ อ้อยหวานขอยกนิ้วให้ว่าสุดยอด ต้นเล็กๆ ที่อาจจะดูเหมือนต้นหญ้าริมทาง แต่คุณประโยชไม่เล็กเลย

 

อัลฟัลฟาเป็นพืชยืนต้น มีอายุตั้งแต่ 4 ถึง 8 ปี แต่ในบางแห่งอาจจะมีชีวิตอยู่ถึง 20 ปี ขึ้นอยู่กับสายพันธ์และสภาพภูมิอากาศ เติบโตสูงถึง 1 เมตร อัลฟัลฟามีรากลึก ในบางครั้งรากอัลฟัลฟาจะชอนไชลงในดินถึง 15 เมตร ซึ่งทำให้มีความยืดหยุ่นสูงและทนแล้งได้ดี

 

อัลฟัลฟาเป็นพืชวงศ์ถั่วที่ปลูกเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์มาตั้งแต่สมัยกรีกและโรมัน และเป็นพืชตระกูลถั่วที่ปลูกเป็นอาหารสัตว์มากที่สุดในโลก มีสารอาหารที่เป็นประโยชสูงเช่น โปรตีน แคลเซียม วิตามินบี วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค

 

ประเทศที่ปลูกอัลฟัลฟามากที่สุดคือ อาร์เจนตินา รองลงมาคือ แคนาดา รัสเซีย อิตาลี และจีน ในรูปคือฟาร์มอัลฟัลฟาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

อัลฟัลฟาเป็นอาหารสัตว์ที่มีคุณประโยชน์สูง ใช้ทั้งสด ตากแห้ง และทำเป็นอาหารเม็ด แต่อัลฟัลฟาไม่เป็นอาหารสัตว์ที่มีคุณประโยชน์สูงเท่านั้น ยังเป็นปุ๋ยตามธรรมชาติที่ดีสำหรับพืชอีกด้วย นอกจากจะทำเป็นปุ๋ยพืชสดแล้ว อัลฟัลฟาอาหารสัตว์ที่เป็นเม็ด ยังสามารถนำมาผสมกับดินใต้โคนต้นไม้พืชดอก เช่น กุหลาบหรือพืชให้ดอกชนิดอื่นๆ ใช้เป็นปุ่ยเร่งดอกได้ดีอีกด้วย

 

แต่..ช้าก่อน..ยังไม่หมดค่ะ อัลฟัลฟาเป็นอาหารและยาวิเศษสำหรับมนุษย์อีกด้วย

แพทย์จีนแผนโบราณได้ใช้ใบอัลฟัลฟา ในการกระตุ้นให้อยากอาหาร และรักษาแผลพุพอง ยาอายุรเวทของอินเดียมีการใช้ใบอัลฟัลฟาเพื่อบรรเทาอาการบวมน้ำ โรคข้ออักเสบ และแผลพุพอง ชาวอเมริกันในสมัยโคโลเนียลใช้อัลฟัลฟารักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ประจำเดือนมีปัญหา โรคไขข้อ และโรคทางเดินปัสสาวะ

ชาวพื้นเมืองอเมริกันใช้เมล็ดอัลฟัลฟาเป็นแป้งและผสมในอาหาร แพทย์สมุนไพรอเมริกาในศตวรรษที่ 19 ใช้อัลฟัลฟาเป็นส่วนผสมในยาบำรุงทั่วไป ใช้เป็นยาสามัญเป็นจำบ้าน โดยนำเมล็ดอัลฟัลฟามาบดเป็นยาพอกบรรเทาแมลงกัดต่อย แม่ลูกอ่อนใช้ใบอัลฟัลฟา ซึ่งเชื่อกันว่าจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเต้านม

ในปัจจุบันแพทย์ธรรมชาติบำบัด (naturopathic) และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทางเลือกได้เน้นว่า อัลฟัลฟาไม่ใช่จะมีคุณค่าทางโภชนาการเท่านั้น แต่ยังเป็นเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสำหรับรักษาโรคมากมาย นอกจากนี้ยังมีการใช้ อัลฟัลฟารักษาโรคพิษสุราเรื้อรังและติดยา

 

ประโยชน์ของใบอัลฟัลฟาอินทรีย์ต่อสุขภาพ

อัลฟัลฟากับการใช้เพื่อสุขภาพสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน

สาร isoflavone ในอัลฟัลฟาถูกจัดเป็นเอสโตรเจนธรรมชาติ (phytooestrogen) ในสตรีในวันใกล้หมดประจำเดือน เอสโตรเจนจะลดต่ำลงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายและภาวะกระดูกเสื่อม ไฟโต-เอสโตรเจนใน อัลฟัลฟาจะเข้าไปชดเชยเอสโตรเจนที่ต่ำลงนี้ รวมทั้ง วิตามินดี แร่ธาตุ แคลเซียมและฟอสฟอรัส ใน อัลฟัลฟาซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ทำให้กระดูกฟันแข็งแรง จึงลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกเสื่อม นอกจากนี้วิตามินและแร่ธาตุใน อัลฟัลฟาจะช่วยให้ร่างกายปรับสภาพได้อย่างเหมาะสม ลดอาการผิดปรกติในช่วงนี้ของอายุ เช่น อาการร้อนวูบวาบตามตัว หงุดหงิดง่ายลงด้วย

ภาวะคลอเลสเตอรอลสูง

จากการศึกษาในห้องทดลองพบว่า สาร saponin และส่วนประกอบอื่นใน อัลฟัลฟามีความสามารถในการยึดติดใน คลอเลสเตอรอล กับเกลือน้ำดีซึ่งจะเป็นผลช่วยป้องกันหรือชะลอการดูดซึม คลอเลสเตอรอล จากอาหาร ดังนั้นจึงช่วยให้ระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดต่ำ ป้องกันการเกิดภาวะการสะสมไขมันในหลอดเลือด ในการศึกษาผู้ป่วย 15 คน โดยให้อัลฟัลฟาขนาด 40 กรัม 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าคนไข้มีระดับคลอเลสเตอรอลรวม และคลอเลสเตอรอลแบบ LDL (คลอเลสเตอรอล ชนิดเป็นโทษ) ลดลง 17-18% ในขณะที่มีบางส่วนลดลงถึง 26-30% จึงอาจกล่าวได้ว่า อัลฟัลฟามีส่วนช่วยในการควบคุมระดับความเข้มข้นของ คลอเลสเตอรอล ให้เป็นปกติ

อัลฟัลฟาช่วยทำความสะอาดผิวจากภายใน

ครอโรฟิลล์ปริมาณสูง วิตามิน และแร่ธาตุที่มีอยู่ในอัลฟัลฟาด้วยปริมาณที่เหมาะสม จะทำหน้าที่ขจัดของเสีย สารพิษออกจากเลือดและอวัยวะภายใน (Blood and Bowel cleanser) ลดการตกค้างของเสียตามผิวหนัง ทำให้เลือดสะอาดและไหลเวียนได้ดีขึ้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่รับประทาน มากและชอบรับประทานเนื้อสัตว์ เมื่อเลือดดีขึ้นทำให้ผิวพรรณผ่องใสมีสุขภาพที่ดีตามมา นอกจากนี้ในอัลฟัลฟายังมีสารไฟโต-เอสโตรเจน ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งพบว่าในคนที่มีสิวง่าย เมื่อรับประทานอัลฟัลฟาปริมาณการเกิดสิวจะลดลงและผิวจะดูสะอาดขึ้น

โรคกระเพาะอาหาร

มีแพทย์จำนวนมากที่ใช้ อัลฟัลฟารักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารต่าง เช่น มีแก๊สมากในกระเพาะอาหารเกิดอาการจุกเสียดเป็นประจำ โรคแผลในกระเพาะอาหาร และโรคเบื่ออาหาร โดยพบว่าอัลฟัลฟามีวิตามินยู ซึ่ง ดร. กาเนนท์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าวว่า วิตามินยูมีศักยภาพสูงในการรักษาโรคกระเพาะ ทำให้การสมานแผลในกระเพาะดีขึ้น และการหลั่งของน้ำย่อยเป็นปกติ

อัลฟัลฟายังมีเอ็นไซม์ Bataine ซึ่งเป็นเอ็นไซม์สำหรับย่อยและเอ็นไซม์อื่น ๆ อีก 7 ชนิดที่ส่งเสริมปฏิกิริยาเคมีที่สามารถทำให้การดูดซึมสารอาหารภายในร่างกาย เป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งการมีบีตา-แคโรทีนในปริมาณสูงของอัลฟัลฟาจะทำให้ผิวที่เคลือบกระเพาะอาหารมีความแข็งแรง ซึ่งพบว่าอัลฟัลฟาสามารถช่วยโรคกระเพาะอาหาร ปวดท้องเพราะมีแก๊สมาก รักษาแผลในกระเพาะลำไส้ ได้เป็นอย่างดี การรักษาโรคของหญ้า อัลฟัลฟานี้อาจจะเป็นในลักษณะเดียวกันกับวิธีทางธรรมชาติของแมวหรือสุนัข ที่มักจะกินหญ้าเพื่อบรรเทาโรคกระเพาะของมันได้

ปวดข้อ ข้อแข็ง รูมาตอยด์

สารอาหารในอัลฟัลฟาจะช่วยปรับสมดุลกรดด่างในร่างกาย ป้องกันการสะสมของกรดยูริคและกรดอื่น ๆ ตามข้อต่อต่าง ๆ ในหนังสือของ แคทเทอรีน เอลวูล ชื่อ Feel Like a Million ได้กล่าวว่า "ความมหัศจรรย์ของ อัลฟัลฟาเห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น เมื่อให้คนไข้รูมาตอยด์ ใช้อัลฟัลฟาเพื่อรักษาความปวดตามข้อ ก็ได้รับรายงานจากคนไข้ว่าสามารถงอมือได้สะดวกยิ่งขึ้นและความเจ็บปวดก็หายไป

นอกจากนี้อัลฟัลฟายังดีสำหรับมารดาที่กำลังให้นมบุตร ช่วยเพิ่มการหลั่งของน้ำนม อัลฟัลฟายังมีคุณสมบัติในการช่วยขับถ่าย ปัสสาวะให้เป็นปกติได้อีกด้วย

อัลฟัลฟา กับโรคมะเร็ง

มีการศึกษาทั้งในมนุษย์ สัตว์ และระบบเชื้อเพาะเลี้ยงพบว่า สาร phytoestrogens มีบทบาทที่สำคัญในการป้องกันโรค มะเร็ง ได้ โดยสารที่จัดว่าเป็นสารประเภท phytoestrogens จะรวมถึง isoflavones, coumestans, และ lignans ซึ่งในหน่อของอัลฟัลฟา ถั่วเหลือง และต้น clover ถือว่าเป็นแหล่งอาหารทางธรรมชาติที่สำคัญของสารดังกล่าว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีข้อแนะนำปริมาณที่ควรรับประทานสาร phytoestrogens อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มการบริโภคอาหารประเภทดังกล่าวจะก่อประโยชน์ และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในร่างกายเราได้เป็นอย่างดี

 

วิธีกินอัลฟัลฟา

ใบและยอดอ่อนสามารถรับประทานดิบหรือสุก นอกจากนี้ยังสามารถนำไปตากแห้งใช้ชงเป็นชา หรือใส่ในซุป เมล็ดอัลฟัลฟาใช้เพาะเป็นถั่วงอกใส่ในสลัด อันนี้อ้อยหวานชอบมาก สลัดที่ใส่ถั่วงอกอัลฟัลฟาอร่อยจริงๆ ใส่ในแซนวิชก็ได้ ใส่ในน้ำซุปก็ดี เมล็ดอัลฟัลฟายังสามารถบดผสมกับแป้งสำหรับทำขนมปังหรือขนมอบอื่นๆ

 

ยัง…ยังไม่หมด ใบอัลฟัลฟาสดยังสามารถนำมาทำ ‘เครื่องดื่มอัลฟัลฟาที่อร่อยและมีคุณค่าทางอาหารสูง จะลงแค่ลิงค์ให้ไปดูกันเอง แต่เดี๋ยวจะมีคนบ่นว่าอ่านไม่ออกอีก อ้อยหวานเลยแปลอย่างหยาบๆ ซึ่งก็ทำได้ง่ายๆ จะมีแต่วัตถุดิบเท่านั้นที่หาไม่ได้ เพราะที่เขาขายกันมีแต่ถั่วงอกอัลฟัลฟาไว้ใส่ในสลัด ปีหน้าต้องต้องหาเม็ดมาลองปลูกบ้างแล้ว

สูตรเครื่องดื่มอัลฟัลฟาจาก the California mission ride

ส่วนผสม:

ใบอัลฟัลฟาสด 300 กรัม (เฉพาะใบเท่านั้น ไม่เอาก้าน)

น้ำตาลทราย 1/2 กิโลกรัม (500 กรัม)

มะนาว 8 ลูก

น้ำ 10 ลิตร

น้ำสำหรับปั่นใบอัลฟัลฟาสด 1/2 ลิตร

 

ผสมน้ำ 10 ลิตรและน้ำตาลทราย 1/2 กิโลกรัมให้เข้ากัน

 

ล้างใบอัลฟัลฟาสดให้สะอาด แล้วปั่นกับน้ำ 1/2 ลิตร

 

กรองเอาแต่น้ำ

 

แล้วผสมกับน้ำที่ผสมกับน้ำตาลทราย ปีบน้ำมะนาว 8 ลูกผสมลงไป

ก็จะได้น้ำอัลฟัลฟาสดอร่อย

 

อ่านอ้อยหวานเล่าเรื่องพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) ตอนแรกๆ ได้ที่นี่่ค่ะ

เรื่องของแคฝรั่ง

รวมญาติ

รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 2

 

โปรดติดตามรวมญาติวงศ์ถั่ว ในตอนต่อไป

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B8%B2

http://en.wikipedia.org/wiki/Alfalfa

http://www.gardeningknowhow.com/edible/vegetables/alfalfa/growing-alfalfa.htm

http://www.globalhealingcenter.com/natural-health/benefits-of-alfalfa-leaf/

http://www.ediblewildfood.com/alfalfa.aspx

http://www.gardeningknowhow.com/garden-how-to/soil-fertilizers/fertilizing-with-alfalfa-meal.htm

http://www.thecaliforniamissionride.org/2013/07/20/recipe-for-telmas-agua-de-alfalfa-a-very-tasty-alfalfa-drink/

 

I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 

ทรงพระเจริญ

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

Love eternally  

รักชั่วนิรันดร์

You have walk over all this land  

พ่อเดินย่ำทั่วท้องถิ่น แดนไทย

You have touched every heart and hand

พ่อสัมผัสดวงใจและมือของทุกคน

You have seen a greater plan

พ่อทรงวางแผนงานที่ยิ่งใหญ่

Given you all so that we can stand

พ่อทุ่มเทหมดสิ้น เพื่อเราได้ยืนหยัด

You give rain from a cloudless sky

พ่อให้ฝนจากฟากฟ้าที่ไร้เมฆ

You give strength when you hear our cry

พ่อให้ขวัญและกำลังใจ เมื่อได้ยินเสียงเราร้องร่ำ

You have faith that we will try to be the best

พ่อมีความเชื่อมั่นว่า ให้เราทำดีที่สุด

So this Nation can rise

เพื่อให้ประเทศไทยยืนยง

 

A thousand choices but we choose one

พันเลือก แต่เราเลือกหนึ่ง

Ten thousand voices that become one

หมื่นเสียง ที่รวมเป็นหนึ่งเดียว

One in harmony..All in unity

รวมความกลมเกลียว สมัครสมานสามัคคี

Together we will give you

ร่วมกันถวายให้พ่อ..

..Love eternally

รักชั่วนิรันดร์

 

In every heart and in every home

ในทุกๆ หัวใจและในทุกๆ หลังคาเรือน

In every place, you are the light and hope

ในทุกแห่งหน พ่อคือแสงสว่างและความหวัง

You are the shelter

พ่อเป็นที่พักพิง

and when the storm has gone, Our inspiration so that we can carry on

และหลังจากพายุร้าย พ่อคือแรงบันดาลใจ ให้เราก้าวเดินต่อไป

 

A thousand choices but we choose one

พันเลือก แต่เราเลือกหนึ่ง

Ten thousand voices that become one

หมื่นเสียง ที่รวมเป็นหนึ่ง

One in harmony..All in unity

รวมความกลมเกลียว สมัครสมานสามัคคี

Together we will give you

ร่วมใจกันถวายให้พ่อ..

..Love eternally

รักชั่วนิรันดร์

 

You are the father

พ่อคือพ่อพระ

You are the soul

พ่อคือดวงจิต

Making this Nation whole

คือศูนย์รวมให้ชาติไทยเป็นหนึ่งเดียว

Together we will give you

ร่วมใจกันถวายให้พ่อ..

 ..Love eternally

รักชั่วนิรันดร์

 

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

 

อ้อยหวาน

 

สุขสันต์วันพ่อ

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

วันที่ 5 ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ อ้อยหวานถือโอกาสนี้รำลึกถึงพระคุณของพ่อค่ะ

 

 

พ่อของแผ่นดิน… ลูกขอน้อมกราบ..ด้วยความเทิดทูนบูชา

 

 

พ่อให้กำเนิด… ลูกสำนึกในพระคุณเป็นนักหนา

 

 

พ่อของลูกๆ… ลูกและเมียแสนรักและศรัทธา

 

 

พ่อทั่วโลกา.. ลูกทั้งหลายซึ้งใจในพ่อ…เอย

 

 

พระคุณพ่อกว้างไกลทั่วไพศาล

ประดุจปานน้ำหล่อเลี้ยงโลกยิ่งใหญ่

ลูกเทิดทูนบูชาสุดดวงใจ

อธิษฐานให้…พ่อเป็นสุข ทุกเวลา

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

เล่าสู่กันฟัง ..งานรวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว 4

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

บล็อกนี้อ้อยหวานยังจับพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) มารวมญาติกันอยู่ พืชวงศ์ถั่วนี้เป็นพืชที่เราควรจะให้ความสำคัญมากๆ เป็นแหล่งอาหารหลัก ใช้ประโยชน์ได้มากมาย และที่สำคัญอีกอย่างคือ ใช้เป็นปุ๋ยพืชสด หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Green manure พืชชนิดจะปลูกคลุมดินไว้ระยะเวลาหนึ่ง จากนั้นก็ไถผสมรวมกับดินในขณะที่ยังสดเขียวหรือหลังจากมีดอก สำหรับผู้ที่คิดจะทำเกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยพืชสด หรือ Green manure นี้สำคัญมาก และอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้พืชวงศ์ถั่วจรัสแสงก็คือการจับไนโตรเจนในอากาศ (Biological nitrogen fixation) พืชวงศ์ถั่วเป็นหมู่บ้านที่พักหลับนอนของแบคทีเรีย ‘ไรโซเบีย’ แบคทีเรียที่สามารถดึงเอาก๊าซไนโตรเจน (N2) จากอากาศ และแปลงรูปเป็นไนโตรเจน (NO3- or NH3) อาหารยอดเยี่ยมของพืช

 

พืชวงศ์ถั่วต้นแรกของบล็อกนี้ก็คือกระถินหรือสะตอเบามีชื่อภาษาอังกฤษว่า White Leadtree หรือ jumbay มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Leucaena leucocephala มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโก เบลีซ และกัวเตมาลา มีลักษณะเป็นพุ่ม หรือเป็นต้น ต้นโตเต็มที่จะสูงถึง 6 เมตร ดอกไม้กลมสีขาวขนาด 3/4 นิ้ว (1.9 เซนติเมตร)

 

ใบและเมล็ดกระถินมีกรดมิโมไซด์ (mimosine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่เป็นพิษ ถ้ากินเป็นประจำจะทำให้ผมร่วง ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปรกติ โรคคอพอก ภาวะมีบุตรยาก และปัญหาต่อสุขภาพอื่นๆ ตอนเด็กๆ อ้อยหวานชอบกินเมล็ดกระถินมาก เมล็ดกระถินสดโรยหน้าขนมจีนน้ำยาอร่อยสุด โชคดีที่ไม้ได้กินไปมากมาย

 

แต่ถ้านำใบและเมล็ดกระถินไปปรุงให้สุก ความร้อนจะทำลายกรดมิโมไซด์ (mimosine) ที่เป็นพิษ

 

กระถินได้ชื่อว่ามีประสิทธิภาพในการจับไนโตรเจนในอากาศ (Biological nitrogen fixation) สูง และโตเร็วประมาณ 10 ฟุตต่อปี สามารถใช้เป็นฟืน และเป็นพืชที่ปลูกป้องกันการพังทลายของดินได้ดี

 

ชะอม เป็นพืชวงศ์ถั่วอีกต้นหนึ่งและเป็นหนึ่งในสกุลที่อาเคเชีย (Acacia) ที่บ้านเราคุ้นเคยกัน มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Senegalia pennata มีถิ่นกำเนิดในเอเซียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

เป็นไม้พุ่มมีหนาม เติบโตสูงถึง 5 เมตร ดอกมีสีขาวแกมเหลือง ใบมีกลิ่นฉุน

 

พูดถึงชะอมส่วนใหญ่จะนึกถึงไข่เจียวชะอม ที่แคนาดาก็มีขายในร้านไทยหรือลาว มาสดๆ เลย แต่ทอดทีหนึ่งบ้านเหม็นไปหลายวัน นอกจากนั้นยังนำมาแกงส้ม แกงแค

 

ที่มณฑลจินปิง (Jinping) ในยูนาน มีอาหารจานเด็ดคือ ปลาไหลผัดใบชะอม

 

ในประเทศอินเดีย น้ำของใบชะอมนำมาผสมกับน้ำนม ใช้ในการรักษาอาการอาหารไม่ย่อยในเด็กทารก นอกจากนี้ยังจะใช้รักษาเลือดออกตามไรฟัน บางคนใช้น้ำต้มใบชะอมรักษาโรคอหิวาต์ อาหารไม่ย่อย บรรเทาอาการปวดศีรษะ ปวดตามร่างกาย งูกัด และรักษาพิษจากปลา รากใช้บรรเทาอาการท้องอืดและปวดท้อง เปลือกชะอมใช้รักษาโรคหลอดลมอักเสบ โรคหอบหืด และอาหารไม่ย่อย

 

พืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) และอยู่ในสกุลที่อาเคเชีย (Acacia) เช่นเดียวกับชะอม อีกสองต้น ที่อ้อยหวานจะกล่าวถึงนี้เป็นพืชที่ผลิตยางไม้ที่เรียกว่า ‘กัม อาราบิก’ (Gum Arabic) ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ตั้งแต่ลูกอม, ช็อคโกแลต M&M, มาร์ชแมลโลว์ (marshmallow), น้ำตาลที่ใช้แต่งหน้าขนมเค็ก, หมากฝรั่ง และน้ำอัดลม

 

นอกจากนี้ยางไม้ ‘กัม อาราบิก’ (Gum Arabic) ยังเป็นส่วนผสมสำคัญในการผลิตยา สี กาว และเครื่องสำอาง

 

พืชวงศ์ถั่วและอยู่ในสกุลที่อาเคเชียเช่นเดียวกับชะอม และผลิตยางไม้ ‘กัม อาราบิก’ ต้นแรกคือ ต้นกัม อาเคเชีย (Gum Acacia)มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Senegalia (Acacia) senegal มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่กึ่งทะเลทรายของทะเลทรายซาฮารา โอมาน ปากีสถาน อินเดียตะวันตก สูง 5-12 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 30 ซม.

 

อีกต้นหนึ่งคือต้นอาเคเชียแดง (Red acacia)มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Vachellia (Acacia) seyal หรือบางครั้งจะเรียกกันว่ายางไม้ ‘กัม อาราบิก’ เทียม

 

ส่วนในซูดาน มีการปลูกต้นอาเคเชียเพื่อเก็บยางไม้ ‘กัม อาราบิก’ ส่งออก 80% ของยางไม้ ‘กัม อาราบิก’ เป็นอันดับหนึ่งของโลก อ้อยหวานไม่แน่ใจว่าเป็นพันธ์ไหน

 

ต้นอาเคเชียอายุประมาณสี่ปีก็สามารถเก็บยางไม้ได้แล้ว เพียงแค่ลอกเปลือกไม้ออกก็จะได้ยางไม้ ‘กัม อาราบิก’

 

แถมเจ้ายางไม้ ‘กัม อาราบิก’ ยังกินได้ด้วย กัดกร๋วมเลย

 

อ่านอ้อยหวานเล่าเรื่องพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) ตอนแรกๆ ได้ที่นี่่ค่ะ

เรื่องของแคฝรั่ง

รวมญาติ

รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 2

รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 3

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ

http://www.eattheweeds.com/leucaena-leucocephala-food-and-fodder-2/

http://en.wikipedia.org/wiki/Leucaena_leucocephala

http://wildlifeofhawaii.com/flowers/1266/leucaena-leucocephala-white-leadtree/

http://www.fao.org/ag/agp/AGPC/doc/Publicat/Gutt-shel/x5556e06.htm

http://violapinnata.blogspot.ca/2012/10/leucaena-leucocephala-lam-de-wit.html

http://en.wikipedia.org/wiki/Senegalia_pennata

http://www.acacia-world.net/index.php/asiapacific/thailand/acacia-pennata-for-food

https://xinfully.wordpress.com/tag/acacia-pennata/

http://en.wikipedia.org/wiki/Gum_arabic

http://en.wikipedia.org/wiki/Senegalia_senegal

http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Senegalia+senegal

http://www.theguardian.com/global-development/gallery/2013/apr/01/harvesting-gum-arabic-sudan-in-pictures

http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Senegalia+senegal

 

 

I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

Viewing all 244 articles
Browse latest View live