Quantcast
Channel: บล็อก อ้อยหวาน
Viewing all articles
Browse latest Browse all 244

เล่าสู่กันฟัง ..งานรวมญาติพืชวงศ์ถั่ว 5

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

รวมญาติพืชวงศ์ถั่วบล็อกสุดท้าย อ้อยหวานขอเอากลุ่มสีเหลืองมาตั้งวงเฮฮากันในบล็อกนี้ ทุ่งดอกไม้สีเหลืองนี้คงจะคุ้นเคยกันดีในบ้านเรา เธอมีนามว่า ปอเทือง

 

ปอเทือง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Sunn hemp หรือ Indian hemp มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Crotalaria juncea มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย

 

ปอเทืองเป็นพืชตระกูลถั่ว ปลูกเป็นพืชเส้นใยในอินเดียมาตั้งแต่ 600 ปีก่อนคริสตกาล ชื่อ Crotalaria แปลว่า มีเสียง หมายถึงเสียงที่เกิดจากการสั่นฝักปอเทืองสุก เป็นพืชล้มลุกสูง 1-4 เมตร มีช่อดอกยาวถึง 2.5 เซนติเมตรและมีดอกสีเหลือง

 

มีฝักยาวประมาณ 2.5-3.2  ซม มีเมล็ดประมาณ 10-15 เม็ด

 

การวิจัยในสหรัฐส่งผลว่าปอเทืองมีสามารถในการปรับปรุงคุณภาพของดิน สามารถจับไนโตรเจนในอากาศ (Biological nitrogen fixation) ตากแห้งใช้เป็นอาหารสัตว์ ใช้ควบคุมวัชพืชและไส้เดือนฝอยรากปม (Root-Knot Nematode)

 

นอกจากนั้นปอเทืองยังให้เส้นใยสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและทำกระดาษ ประเทศที่ผลิตเส้นใยปอเทืองมากที่สุดในโลกคือประเทศจีน

 

เส้นใยปอเทือง

 

พืชวงศ์ถั่วกลุ่มดอกเหลืองต้นต่อมาคือ โสน ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Sesbania มีหลายพันธุ์ โสนพันธ์กินดอก มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Sesbania javanica  และมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ทางภาคเหนือเรียกว่า ผักฮองแฮง ทางกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก สีปรีหลา มีชื่อภาษาเวียดนามเรียกว่า điên điển gai มีถิ่นกำเนิดในเอเชียและแอฟริกาเหนือ

โสนเป็นไม้พุ่มอเนกประสงค์ ลำต้นให้เส้นใยใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ เชือกที่ทำจากเส้นใยของโสนแข็งแรงและทนทาน ในอินเดียจะใช้ทำอวนจับปลา ดอกและเมล็ดใช้ทำอาหาร ใบใช้ทำอาหารสัตว์ และใช้เป็นปุ๋ยพืชสด

 

โสนเป็นไม้สกุลเดียวกับแค เป็นไม้ล้มลุกอายุ 1 ปี พืชตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย จากอินเดียไปทางตะวันออกจนถึงประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

ดอกเป็นช่อเชิงลด หรือเป็นช่อกระจุก ออกที่ปลายกิ่ง ชอกใบ ซอกกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีดอกย่อย 5-12 ดอก ยาว 2.5  เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ บางครั้งกลีบนอกมีจุดกระสีน้ำตาล หรือสีม่วงแดง กระจายอยู่ทั่วไป

ผลเป็นฝักผอม กว้าง 4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 18-20 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่กลายเป็นสีม่วงและสีน้ำตาล มีเมล็ดขนาดเล็กเรียงอยู่ภายใน ฝักแตกเองเมื่อแห้งโดยแตกตามขวางของฝักผล เมล็ดทรงกลมเป็นมันเงามีสีน้ำตาล มีขนาดประมาณ 0.05 เซนติเมร เมื่อออกดอกติดเมล็ดแล้ว ต้นโสนจะค่อยๆ เหี่ยวแห้งตายไปในที่สุด

ดอกโสนเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมีจารึกในประวัติศาสตร์ว่า เมื่อครั้งก่อกรุงศรีอยุธยาตั้งเป็นราชธานีนั้น พระเจ้าอู่ทองได้ปักหลักสร้างเมืองสร้างพระราชวังใหม่ที่ตำบลหนองโสน (ปัจจุบันเรียกว่า บึงพระราม)  

                                          

ดอกโสนทำอาหารหวานคาวได้หลายอย่าง เมนูสุดฮิตได้แก่ ดอกโสนผัดหรือลวกจิ้มกับน้ำพริกกะปิ กินกับปลาทู และชุบแป้งทอดกรอบกินกับขนมจีนน้ำพริกก็ได้ ใช้วิธีเดียวกับการทำชะอมชุบไข่ทอด หรือจะทำแกงส้มดอกโสนกับปลาช่อนก็มีคนรอกิน ส่วนเมนูง่ายๆ ก็คือ ดอกโสนผัดไข่ หรือไข่เจียวใส่ดอกโสน ดอกโสนจิ้มน้ำพริกมะนาว แกงเผ็ดอะไรก็ได้ใส่ดอกโสน ดอกโสนผัดน้ำมันหอย ยำดอกโสน

ถ้าใช้ประกอบอาหารหวานก็มีข้าวเหนียวมูนดอกโสน ให้นึ่งดอกโสนพร้อมข้าวเหนียวราว 10 นาทีสุดท้าย มูนกะทิเข้าด้วยกันและกินกับน้ำตาลและมะพร้าวโรยงา

สรรพคุณทางการแพทย์แผนไทยบอกว่า ดอกโสนมีรสจืด มัน เย็น สรรพคุณแก้พิษร้อน ถอนพิษไข้ (สรรพคุณเดียวกันกับดอกแค)

สรรพคุณทางโภชนาการพบว่า ดอกโสนให้ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัสบำรุงกระดูกบำรุงสมอง มีเหล็กบำรุงเลือด ให้วิตามินเอไว้ต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บอีก และมีวิตามินบี 1 บี 2 ไนอะซิน และวิตามินซี อีกพอสมควร นับว่าเป็นดอกไม้พืชพื้นบ้านที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายอย่างมาก

ขอบคุณข้อมูลจาก หมอชาวบ้าน

อ้อยหวานเคยเห็นคนเอาดอกโสนมาลวกน้ำร้อนแล้วใส่ในข้าวยำแบบปักษใต้ และอีกเมนูหนึ่งคือขนมกุ้ยช่ายไส้ดอกโสน น่ากินทุกอย่างเลย

 

พืชวงศ์ถั่วกลุ่มดอกเหลืองอีกแก๊งค์คือ พวกสกุลขี้เหล็ก มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่าสกุล Senna เป็นพืชวงศ์ถั่ว สกุลใหญ่ มีทั้งหมด 260-350 สายพันธ์ อ้อยหวานขอเชิญมารวมญาติแค่ 4 ต้น คือ ต้นขี้เหล็ก ชุมเห็ดไทย ชุมเห็ดจีน และชุมเห็ดเทศ ให้บล็อกนี้สีเหลืองพราวไปทั้งบล็อก

 

ต้นขี้เหล็ก เป็นพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) สกุลขี้เหล็ก (Senna) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Kassod Tree มีชื่อภาษาฝรั่งเศสว่า casse de Siam ซึ่งแปลว่าต้น casse ของสยาม  มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Senna siamea นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกแตกต่างกันในท้องถิ่นไทย เช่น ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลางบางที่) ผักจี้ลี้ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มาเลย์-ปัตตานี) และขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้) มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้นไม้ขนาดกลาง สูงประมาณ 18 เมตร

 

ในเมืองไทยใบอ่อนและลูกขี้เหล็กจะใช้ทำแกงขี้เหล็ก ซึ่งจะต้องเปลี่ยนน้ำต้มถึงสามครั้งเพื่อขจัดสารพิษ ในประเทศศรีลังกาก็ใช้ทำแกงและต้องต้มน้ำถึงสามครั้งเพื่อขจัดสารพิษเช่นเดียว

ในตำราการแพทย์แผนไทยได้มีการบันทึกประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก ใช้เป็นยากล่อมประสาททำให้นอนหลับ ใช้ทำความสะอาดเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื่นเป็นเงางาม ไม่มีรังแค ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี และบำรุงโลหิต เป็นต้น

 

ชุมเห็ดไทย มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Senna tora เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มเตี้ย สูงประมาณ 1 เมตร ในวงศ์ Leguminosae มีชื่อท้องถิ่นอื่นคือ ชุมเห็ดควาย, ชุมเห็ดไทย, ชุมเห็ดนา, ชุมเห็ดเล็ก (ภาคกลาง); พรมดาน (สุโขทัย); ลับมือน้อย (ภาคเหนือ); หญ้าลึกลืน (ปราจีนบุรี)

 

ชุมเห็ดไทยเป็นไม้ลมลุกและไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก พุ่มต้นสูงประมาณ1 เมตร ส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 12.3-17.4 มิลลิเมตร ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาลแดง ไม่มีขน ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อย 3 คู่ รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 2-4 ซม. ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อดอกที่ซอกใบ เป็นกระจุก ดอกเดี่ยวมีก้านช่อดอกออกจากจุดเดียวกัน ช่อดอกยาว 2.71-4.03 เซนติเมตร มี 1-3 ดอกต่อช่อ มี 5 กลีบดอก ฐานรอบกลีบดอกสีขาวอมเหลืองมีขนครุยตามขอบ อับเรณู (anther) สีเหลืองอมน้ำตาล ผลเป็นฝักเล็กแบนยาว เมล็ดรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน สีน้ำตาลแกมเขียว

ชุมเห็ดไทยเป็นยาช่วยให้นอนหลับและช่วยสงบประสาทได้เป็นอย่างดี เมล็ด ทำให้ง่วงนอนและหลับได้ดี แก้กระษัย ขับปัสสาวะพิการได้ดี เป็นยาระบายอ่อนๆ รักษาโรคผิวหนัง ดอก ปรุงเป็นยาแก้ไข้ ขับพยาธิในท้องเด็ก รับประทานเป็นยาระบายอ่อนๆ และแก้ไอ แก้เสมหะ แก้หืด คุดทะราด ผล แก้ฟกบวม

 

ชุมเห็ดจีน มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Senna obtusifolia มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Chinese senna แต่ถิ่นกำเนิดในภาคใต้และภาคตะวันออกของสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และอเมริกาเขตร้อน เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 2.5 เมตร

 

คนในประเทศซูดานจะนำใบของชุมเห็ดจีนมาหมัก ทำเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงมีชื่อเรียกว่า "Kawal"ใช้กินแทนเนื้อสัตว์ ใบ เมล็ด และราก ใช้ในการแพทย์พื้นบ้านในเอเชีย เชื่อกันว่ามีฤทธิ์เป็นยาระบาย และใช้บำรุงสายตา ยาพื้นบ้านจะนำเมล็ดมาคั่วแล้วต้มในน้ำทำเป็นน้ำชา บางแห่งนำเมล็ดมาคั่วแล้วบดใช้แทนเมล็ดกาแฟ ยาพื้นบ้านของเกาหลีจะนำมาทำชาเรียกว่า gyeolmyeongja (결명자) ชุมเห็ดจีนยังใช้เป็นยาพื้นบ้านในญี่ปุ่นเรียกกันว่า ketsumei-shi (ケツメイシ, 決明子)

 

ชุมเห็ดเทศ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า candle bush มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Senna alata มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโกและอเมริกาใต้

 

เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูง 3–4  เมตร

 

ใบสดของชุมเห็ดเทศใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ฝีและแผลพุพอง  

ดอก ใบสดหรือแห้งใช้เป็นยาระบาย ยาถ่าย ถ่ายพยาธิลำไส้

เมล็ดใช้เป็นยาขับพยาธิ เป็นยาระบายอ่อน

ในฟิลิปปินส์จะใช้เป็นส่วนผสมของสบู่ แชมพู และโลชั่น ใบชุมเห็ดเทศมีกรด chrysophanic มีคุณสมบัติป้องกันเชื้อรา

 

ส่วนฟาร์มสมุนไพรอินทรีย์ของมาเลเซีย ฟาร์ม Agripearl Integrated Organic Herbal Farm ขายชาใบชุมเห็ดเทศสำหรับดีท็อกซ์ลำไส้ เขาอธิบายว่าที่ผนังของลำไส้มีตุ่มเล็กๆ มากมายเรียกว่า villi ใช้ในการดูดซึมอาหาร เมื่อเวลาผ่านไปก็จะมีการสะสมของกากอาหารที่ค้างอยู่ทำให้เป็นชั้นหนา เหมือนกับเศษอาหารที่ติดอยู่ระหว่างฟัน ทำให้เกิดฟันผุและโรคในช่องปากอื่นๆ ในลำไส้ใหญ่ก็จะทำให้เกิดอาการท้องเฟ้อ ท้องผูก มีลมในท้องมาก และสามารถนำไปสู่โรคร้ายแรงอื่นๆ ดื่มชาใบชุมเห็ดเทศเป็นประจำทุกวันเป็นการดีท็อกซ์และล้างลำไส้ อ่านเพิ่มเติม ได้ที่นี่

 

อ่านอ้อยหวานเล่าเรื่องพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) ตอนแรกๆ ได้ที่นี่่ค่ะ

เรื่องของแคฝรั่ง

รวมญาติ

รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 2

รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 3

งานรวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว 4

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ

http://edis.ifas.ufl.edu/hs376

http://assamagribusiness.nic.in/Sunnhemp.pdf

http://www.tropicalforages.info/key/Forages/Media/Html/Crotalaria_juncea.htm

http://www.hort.purdue.edu/newcrop/proceedings1996/v3-389.html

http://www.thaiherbdd.com/?i=5&p=6

http://en.wikipedia.org/wiki/Crotalaria_juncea

http://en.wikipedia.org/wiki/Sesbania

http://en.wikipedia.org/wiki/Sesbania_bispinosa

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81

http://link.springer.com/chapter/10.1007/978-94-007-7395-0_73#page-1

http://www.doctor.or.th/article/detail/10269

http://en.wikipedia.org/wiki/Senna_%28plant%29

http://en.wikipedia.org/wiki/Senna_siamea

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81

http://www.cabi.org/isc/datasheet/11462

http://www.worldagroforestry.org/treedb/AFTPDFS/Senna_siamea.pdf

http://en.wikipedia.org/wiki/Senna_tora

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

http://keyserver.lucidcentral.org/weeds/data/03030800-0b07-490a-8d04-0605030c0f01/media/Html/Senna_tora.htm

http://en.wikipedia.org/wiki/Senna_obtusifolia

http://keys.lucidcentral.org/keys/v3/eafrinet/weeds/key/weeds/Media/Html/Senna_obtusifolia_%28Sicklepod%29.htm

http://en.wikipedia.org/wiki/Senna_alata

http://www.naturia.per.sg/buloh/plants/candlesticks.htm

http://keyserver.lucidcentral.org/weeds/data/080c0106-040c-4508-8300-0b0a06060e01/media/Html/Senna_alata.htm

 

I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน


Viewing all articles
Browse latest Browse all 244

Trending Articles