บล็อกบ้านดินของอ้อยหวานชุดนี้เอามาจากประสบการ์ณของผู้คนในต่างประเทศ อ้อยหวานแน่ใจว่าเมืองไทยเราก็มีท่านผู้เชี่ยวชาญในการสร้างบ้านดินจริงๆ และอาจจะแตกต่างกันบ้าง หากเพื่อนๆจะเสริมข้อมูลหรือรูปภาพ เพื่อให้บล็อกบ้านดินของอ้อยหวานสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก็อย่างลังเลใจเพิ่มเติมมาได้เลยค่ะ
อ่านเรื่องราวของบ้านดินในบล็อกเก่าของ อ้อยหวาน ได้ที่นี่ค่ะ
บ้านดินนานาชาติ อนาคตของโลกอยู่ในดิน 1
บ้านดินนานาชาติ อนาคตของโลกอยู่ในดิน 2
บล็อกนี้จะเป็นการขยายและอธิบายเทคนิคต่างๆ ในการสร้างบ้านดินที่อ้อยหวานกล่าวไว้ในบล็อกที่แล้ว โดยจะเริ่มจาก การค็อฟ (Cob)
คำว่าค็อฟ (Cob) มาจากภาษาอังกฤษที่แปลว่า "ก้อน"ซึ่งหมายถึงการนำเอาก้อนดินเหนียวที่ผสมกับฟาง นำมาโปะสร้างเป็นกำแพงและผนัง ในสมัยก่อนบ้านจะนิยมสร้างขึ้นจากวัสดุที่อยู่ใกล้มือหรือได้ฝ่าเท้า การค็อฟ (Cob) นี้จัดได้ว่าเป็นวิธีเก่าแก่ในการสร้างบ้านวิธีหนึ่ง ในประเทศอังกฤษมีบ้านที่สร้างด้วยการค็อฟ (Cob) อยู่เป็นพันๆ หลัง บางหลังอายุกว่า 500 ปี
ผู้คนหลายเผาพันธ์ทั่วโลกได้สร้างด้วยวิธีการค็อฟ กันมาช้านาน เช่น เมืองชิแบม (Shibam) ทางภาคใต้ของประเทศเยเมน ตึกดินบางหลังอายุกว่า 700 ปี
ในปัจจุบันการสร้างบ้านดินด้วยการค็อฟ (Cob) กำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก เพราะการค็อฟนั้นง่ายที่จะเรียนรู้ ใช้เครื่องไม้เครื่องมือง่ายๆ ไม่ต้องหรูหรา
เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย ไม่ต้องมีกล้ามใหญ่ๆ ก็สร้างบ้านได้
การสร้างบ้านดินด้วยการค็อฟ (Cob) ต้องใช้เวลาค่อยเป็นค่อยไป ต้องให้เวลาให้ดินแข็งตัว ไม่ต้องรีบร้อน จึงเป็นการดีสำหรับคนสองคนค่อยๆ ช่วยกันสร้าง เหนื่อยก็พัก หายเหนื่อยก็ทำต่อ คล้ายๆ กับงานฝีมือ คุณแอนและคุณกอร์ด (Ann & Gord) แห่งแคนนาดา ทั้งสองสร้างบ้านดินด้วยการค็อฟด้วยตัวเองในพื้นที่บนเกาะที่สามารถเข้าถึงได้ทางเรือเท่านั้น ใช้ชีวิตในบ้านที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อ่านเรื่องของพวกเขาได้ที่นี่ Eco-Sense
สร้างเสร็จแล้วเป็นแบบนี้ เป็นบ้านที่โอบกอดและรักธรรมชาติจริงๆ เริ่มตั้งแต่การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ติดตั้งระบบส้วมปุ๋ยหมัก ติดตั้งหลังคามีชีวิตหรือหลังคาเขียว (living roof , Green Roof) อ้อยหวานเคยเอามาให้ดูแล้ว ที่บล็อกนี้ หลังคาเขียว อาจช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ตลอดจนการอนุรักษ์น้ำเช่น การเก็บกักน้ำฝน ติดตั้งระบบ grey-water re-use หรือการบำบัดน้ำเสียแล้วนำมาใช้ใหม่ เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ ปลูกพืชผักกินเอง ทั้งสองใช้ชีวิตแบบสำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า Less Life Stuff, More Life Style! มีข้าวของน้อย แต่ไลฟ์สไตล์หรือวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีกว่า
ระบบ grey-water re-use หรือการบำบัดน้ำเสียแล้วนำมาใช้ใหม่ แบบคร่าวๆ
การผสมดินทำได้ง่ายๆ เรียกได้ว่าสร้างบ้านด้วยสองมือและสองเท้าจริงๆ เด็กทำได้ ผู้ใหญ่ทำดี
เปิดเพลงร็อคแล้วให้เด็กๆ และผู้ใหญ่ย่ำดินกัน ก็เป็นปาร์ตี้ที่สนุกสนาน บางคนจะใช้ตัวช่วยผสมดินเช่น ใช้วัวควายหรือม้าย่ำ ใช้เครื่องพรวนดิน หรือเครื่องผสมปูน
แต่การผสมดินนั้น ผสมเท่าที่จะใช้ในวันนั้น คือผสมแต่ละครั้งต้องใช้ให้หมด
ขั้นตอนต่อมาก็ปั้นเป็นก้อนแล้วลงมือสร้าง ถ้าสร้างกันสองคน ก็แบ่งหน้าที่กัน คือคนหนึ่งปั้นแล้วส่งให้คนโปะ จะก้อนเล็กหรือใหญ่ตามกำลังมือของคนปั้น
คุณทอมและคุณเชยี (Shaye) แห่งนิวซีแลนด์ ได้ลงมือ ลงเท้า สร้างบ้านดินตัวอย่างด้วยการค็อฟ และได้เขียนอธิบายลงรูปโดยละเอียดตั้งแต่วางแผนบ้าน ขุดฐานและระบายน้ำ ผสมดิน ก่อกำแพงบ้าน ไปจนถึงการติดตั้งประตูหน้าต่าง อ่านเรื่องของพวกเขาได้ที่นี่ diyhousebuilding.com
การทดสอบส่วนผสมของดิน คุณทอมและคุณเชยีทดสอบโดยการทำอิฐดินที่ใช้ส่วนผสมของดิน+ทราย+ ฟาง ผสมในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน อย่าลืมทำเครื่องหมายให้ชัดเจนว่าอันไหนคืออันไหน ต่อจากนั้นก็ตากแดดให้แห้งแต่อย่าให้โดนฝน เมื่ออิฐดินแห้งดีแล้วทีนี้ก็ถึงเวลาทดสอบกันละ ยกอิฐดินขึ้นสูงประมาณหนึ่งเมตร ให้มุมของอิฐดินหันลงพื้น แล้วก็ปล่อยมือ อย่าโยนนะค่ะ ปล่อยมือเฉยๆ ถ้าอิฐดินแตกละเอียด ก็แปลว่าส่วนผสมไม่แข็งแรงพอ ถ้าไม่แตกมากก็เป็นส่วนผสมที่ใช้ได้
ดูรายละเอียดการผสมดินของคุณทอมและคุณเชยี ได้ที่นี่ how to make cob
เริ่มแรกทั้งสองใช้วิธีดั้งเดิมคือการย่ำด้วยเท้า ต่อมาได้ใช้เครื่องผสมปูนเป็นตัวช่วยผสมดิน
คุณทอมติดตั้งประตูและหน้าต่าง ใช้ความคิดสร้างสรรกันเต็มที่
ไอเดียหน้าต่างกระจกสวยๆ ที่คุณทอมและคุณเชยี ใช้เป็นแบบและเป็นแรงบันดาลใจ
คุณทอมและคุณเชยี ทดสอบโดยการใช้ขวดไวน์
ทั้งสองตั้งชื่อบ้านว่า เฮ็นรี่ (Henry)
การฉาบบ้านดินทำกันหลายแบบ
การฉาบหินปูน (lime) ทั้งสองใช้ส่วนผสมดังต่อไปนี้
หินปูน (lime) 1 ถัง ทราย 3 ถัง เม็ดสี ‘โอเคอ’ (Ochre) 3 ถ้วยโยเกิร์ต ผสมกับน้ำ ดูละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ การฉาบหินปูน
แบบที่ไม่ใช้หินปูน (lime) ก็จะใช้ดินเหนียวผสมกับขี้ม้า แล้วมาผสมกับน้ำอีกที ถ้าสีของดินสวยถูกใจแล้วก็ไม่ต้องใส่เม็ดสี ‘โอเคอ’ (Ochre) อ้อยหวานเคยเล่าเรื่อง เม็ดสี ‘โอเคอ’ (Ochre) ให้ฟังแล้วในตอนที่ปั่นจักรยานเที่ยวโปรวองซ์ แล้วได้ไปชมเหมืองโอเคอ ดูได้ที่นี่ค่ะ ปั่นจักรยานตามเก็บฝัน ตอน ลูเบอรอง ( Luberon ) ดินแดนแห่งเมืองบนหน้าผา
ส่วนผสมของการฉาบบ้านดินมีกันหลายสูตร อ้อยหวานใส่ลิงค์ไว้ให้
http://www.permaculturinginportugal.net/blog/cob-and-earthen-plaster-recipes/
http://www.buildnaturally.com/EDucate/Articles/ClayPlaster.htm
หากใช้มูลสัตว์เป็นส่วนผสมในการฉาบบ้านดิน ต้องเป็นมูลสัตว์ที่ตากแห้งสนิทจนไม่มีกลิ่นแล้วเท่านั้น
อ้อยหวานเอารูปบ้านดินที่สร้างด้วยการค็อฟ (Cob) มาให้ดู จะได้ใช้เป็นแบบและเป็นแรงบันดาลใจ บ้านดินที่สร้างด้วยการค็อฟมีหลายรูปทรง
หรือแบบนี้
เอารูปตัวอย่างการทำบันไดบ้านเก๋ๆ มาให้ดูด้วย
ติดตั้งในระหว่างสร้างกำแพงดินกันเลย
โปรดติดตามอ่าน บ้านดิน ในตอนต่อไป
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ
http://webecoist.momtastic.com/2012/02/20/all-about-cob-a-sculptural-natural-building-material/
http://www.inspirationgreen.com/historical-cob-buildings.html
http://www.diyhousebuilding.com/cob-building-henry2.html
http://www.motherearthnews.com/green-homes/building-with-cob-zmaz98onzraw.aspx?PageId=1
http://webecoist.momtastic.com/2012/02/20/all-about-cob-a-sculptural-natural-building-material/
https://earthenacres.wordpress.com/
https://ecosenseliving.wordpress.com/about/
https://westwardfarmer.wordpress.com/2013/05/15/cob-to-the-moon/
http://naturalcottageproject.com/wordpress/
https://earthenacres.wordpress.com/category/cobbing/
http://www.diyhousebuilding.com/cob-building-henry.html
http://www.permaculturinginportugal.net/blog/cob-and-earthen-plaster-recipes/
I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.
ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข
ขอบคุณค่ะ
อ้อยหวาน