Quantcast
Channel: บล็อก อ้อยหวาน
Viewing all articles
Browse latest Browse all 244

เล่าสู่กันฟัง ..รวมญาติ

$
0
0
หมวดหมู่ของบล็อก: 

จากวิสทีเรีย สู่ black locust แคฝรั่ง จนมาถึง กระพี้จั่น หนูรักเอารูปมาลงให้อ้อยหวานชมตั้งแต่ตอนพาเที่ยวคามาคุระ ญี่ปุ่นแต่ตอนนั้นกำลังติดลมพาเที่ยวและกำลังจะไปเที่ยวอีก รอบสองนี้หนูรักเอารูปมาให้ชมอีกครั้ง และอ้อยหวานก็จัดให้

 

ถือว่าเป็นการพบปะของวงศาคณาญาติก็แล้วกัน เพราะทั้งสี่ต้นต่างก็เป็นไม้วงศ์ตระกูลเดียวกัน วงศ์ตระกูลนี้ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Fabaceae หรือ Leguminosae คือวงศ์ถั่วนั่นเอง

 

จัดว่าเป็นวงศ์ตระกูลใหญ่พรรคพวกเยอะมีถึง 18,860 สายพันธุ์ ถือว่าใหญ่เป็นอันดับสามในปฐพีนี้ รองจากพวกตระกูลกล้วยไม้ (Orchidaceae) และวงศ์ทานตะวัน (Asteraceae)

 

ขอบคุณรูป จาก  thaiarcheep.com

พืชตระกูลถั่ว หรือ Fabaceae นี้ มีตั้งแต่เป็นต้นไม้สูงใหญ่ ไม้เลื้อย ไปจนถึงพืชสวนครัว คำว่า Fabaceae มาจากภาษาลาติน Faba = ถั่ว

 

รากของพืชตระกูลนี้มีแบคทีเรียชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ มีชื่อเรียกว่าไรโซเบีย (Rhizobia) เป็นแบคทีเรียผู้ดี (ไม่ใช่ผู้ร้าย) แบคทีเรียไรโซเบียสามารถดึงเอาก๊าซไนโตรเจน (N2) จากอากาศ และแปลงรูปเป็นไนโตรเจน (NO3- or NH3) อาหารอร่อยของพืชที่ให้ที่อยู่แก่มัน ซึ่งเรียกว่า Symbiosis จากภาษากรีกแปลว่าอยู่ร่วมกัน ซึ่งอ้อยหวานขอแปลว่า ‘ร่วมกันเราอยู่ แยกกันเราแย่’ ..ตีกันมีแต่ฉิบหาย.. เอ้านอกเรื่องเสียแล้ว

 

ความสัมพันธ์ของพืชและไรโซเบียนี้เป็นความสัมพันธ์ทางชีวภาพที่สำคัญมาก

การจับไนโตรเจนในอากาศ หรือ Biological nitrogen fixation ย่อว่า (BNF) มีสูตรดังนี้ N2 + 8 H+ + 8 e− → 2 NH3 + H2 ปวตหัวไหม? นักวิทยาศาสตร์เขาช่างคิดกันเนอะ ยากๆ ก็ปล่อยให้เขาคิดกันไป อยากรู้มากกว่านี้ก็ไปดูที่นี่ Nitrogen fixation

ขอบคุณ ข้อมูลจาก  WIKIPEDIA

 

ทีนี้ก็มาถึงกระพี้จั่น ก็เป็นหนึ่งในตระกูลถั่ว (Fabaceae) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Millettia brandisiana Kurz เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีถิ่นกำเนิดที่เอเชียเขตร้อน  และภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย เป็นพืชท้องถิ่นของบ้านเรานี่เอง

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 8–20 เมตร เปลือกสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบทู่ โคนใบมนหรือสอบเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจางกว่า ใบแก่เกลี้ยง มีขนประปรายตามเส้นกลางใบด้านล่าง ดอกรูปดอกถั่ว สีขาวปนม่วง ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลเป็นฝักแบน โคนแคบกว่าปลาย เปลือกเกลี้ยงหนาคล้ายแผ่นหนัง ขอบเป็นสัน เมล็ดสีน้ำตาลดำ

ประโยชน์ : ใบอ่อนปรุงอาหาร เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างและทำเยื่อกระดาษ

การกระจายพันธุ์ : พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และพบในทุกภาคของประเทศไทย

นิเวศวิทยา : พบในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ที่ความสูง 450-800 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ขยายพันธุ์   โดยการเพาะเมล็ด ปักชำราก

สภาพที่เหมาะสม  สภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ทนแล้งได้ดี

ซึ่งจะหาดูได้ที่ สวนป๋าเปรม สงขลา,  สวนหลวง ร.9 ถนนศรีนครินทร์ กทม

 

ไหนๆ ก็รวมญาติแล้ว ก็ต้องขอเชิญมาหลายก๊กหน่อย งานพบปะสังสรรจะได้เอิกเกริก สนุกสนาน ครึกครื้นขึ้น อ้อยหวานจะทยอยเอาพืชวงศ์ตระกูลนี้ มาลงในบล็อกต่อไป

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ

http://en.wikipedia.org/wiki/Fabaceae

http://site2.generalprempark.com/en/article/5-zone2eng/136-vegetation-within-the-park-.html?start=3

http://treehistory.blogspot.ca/2011/12/millettia-brandisiana-kurz.html

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.php?page=search_detail&medicinal_id=107

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99

http://lib.payap.ac.th/webin/ntic/vegetable/Pi000063.pdf

 

 

I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 

 


Viewing all articles
Browse latest Browse all 244

Trending Articles